fbpx
หน้าแรกTikTok NewsTikTok ตั้งกฎใหม่เพื่อลดผลกระทบจากการใช้ที่งานมากเกินไป

TikTok ตั้งกฎใหม่เพื่อลดผลกระทบจากการใช้ที่งานมากเกินไป

Author

Date

Category

แชร์บทความน่าสนใจได้ที่นี่

ผลสำรวจของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) เปิดเผยว่า ในปี 2563 คนไทยใช้เวลาบนอินเทอร์เน็ตเพิ่มสูงขึ้นถึง 11.23 ชั่วโมงต่อวัน การใช้เวลาบนออนไลน์ที่มากเกินไปจะส่งผลกระทบในหลายด้าน ทั้งปัญหาทางการเรียน การทำงาน ที่ส่งผลให้ขาดความสามารถในการจดจ่อในสิ่งที่ตัวเองรับผิดชอบ รวมถึงปัญหาด้านความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ปัญหาทางด้านร่างกายและจิตใจที่สามารถส่งผลกระทบทางร่างกาย ทั้งอาการเมื่อยล้า สมาธิสั้น และภาวะเครียดสะสม อีกทั้งภัยออนไลน์อื่นๆ อาทิ การคุกคามทางออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ TikTok ให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยบนแพลตฟอร์ม ด้วยการรักษาสภาพแวดล้อมบนแพลตฟอร์มและชุมชนออนไลน์ของผู้ใช้ให้เป็นพื้นที่ที่เป็นมิตรและปลอดภัย โดยที่ผ่านมาได้มีการเปิดตัวฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยและการอัพเดทแนวทางปฏิบัติสำหรับชุมชน (Community Guideline) เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ทำให้ผู้ใช้ทุกคนรู้สึกไว้วางใจและมั่นใจในทุกการแสดงออกทางความคิดสร้างสรรค์ ผ่านเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยต่างๆ ดังนี้

  • การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว (Privacy Setting)

บัญชีผู้ใช้ TikTok จะได้รับการตั้งค่าเริ่มต้นโดยอัตโนมัติให้เป็นสาธารณะ (Public) โดยผู้ใช้สามารถเปลี่ยนการตั้งค่าให้เป็นบัญชีส่วนตัวได้ ผ่านหน้าการตั้งค่าความเป็นส่วนตัว (Privacy Setting) และการตั้งค่าความปลอดภัย โดยบัญชีส่วนตัว เจ้าของบัญชีสามารถอนุมัติหรือปฏิเสธคำขอติดตามจากผู้ใช้คนอื่นได้ และจะมีเพียงผู้ใช้ที่ได้รับการอนุมัติให้เป็นผู้ติดตามเท่านั้นที่จะสามารถมองเห็นคอนเทนท์ของเจ้าของบัญชีได้ นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถลบผู้ติดตามออกจากบัญชีหรือบล็อคผู้ใช้คนอื่นๆ ซึ่งจะทำให้พวกเขาไม่สามารถสื่อสาร โต้ตอบ หรือดูคอนเทนท์ของเจ้าของบัญชีได้ ทั้งนี้ TikTok กำหนดให้ผู้ใช้ที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปี มีการตั้งค่าเริ่มต้นอัตโนมัติเป็นสถานะส่วนตัว (Private)

  • การจำกัดเนื้อหาที่อาจไม่เหมาะสม (Restricted Mode)

การตั้งค่า Restricted Mode สามารถช่วยในการจำกัดการมองเห็นสำหรับคอนเทนท์ที่อาจไม่เหมาะสมสำหรับผู้ชมในทุกเพศทุกวัย โดยผู้ใช้สามารถปรับเปลี่ยนการตั้งค่า Restricted Mode ได้ตลอดเวลา

  • การส่งข้อความส่วนตัว (Direct Message)

การส่งข้อความส่วนตัว (Direct Message) อาจเป็นวิธีในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ใช้คนอื่นๆ ซึ่งบน TikTok ผู้ใช้สามารถตั้งค่ากำหนดการส่งข้อความส่วนตัว (Direct Message) โดยให้มีเพียงผู้ติดตามเท่านั้นที่สามารถส่งข้อความส่วนตัว (Direct Message) ถึงเจ้าของบัญชีได้ หรือเลือกปิดการส่งข้อความส่วนตัว (Direct Message) ทั้งหมด ทั้งนี้ TikTok มีการกำหนดปิดการรับส่งข้อความส่วนตัว (Direct Message) สำหรับผู้ใช้ที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปี

  • การจำกัดการดูเอ็ท (Duet)

ดูเอ็ท (Duet) เป็นอีกหนึ่งวิธีในการสร้างสรรค์วิดีโอร่วมกับครีเอเตอร์คนอื่นๆ โดยผู้ใช้สามารถตั้งค่าว่า ใครสามารถดูเอ็ท (Duet) หรือรีแอค (React) กับวิดีโอของตัวเองได้ โดยไปที่กำหนดการตั้งค่า (Preferences) ในบัญชีผู้ใช้ หรือเลือกที่จะเปิดหรือปิดดูเอ็ท (Duet) สำหรับวิดีโอบางรายการได้

  • การจำกัดเวลาการใช้หน้าจอ (Screen Time Management)

การจำกัดเวลาการใช้หน้าจอ (Screen Time Management) จะช่วยในการควบคุมระยะเวลาการใช้แพลตฟอร์มในแต่ละวัน ซึ่งฟีเจอร์นี้เป็นส่วนหนึ่งของสุขภาวะดิจิทัล (Digital Wellbeing) โดยผู้ใช้สามารถตั้งค่าได้ด้วยรหัสผ่านและสามารถกำหนดเวลาได้หลายช่วง ได้แก่ 40 นาที 60 นาที 90 นาที และ 120 นาที

  • การรับทราบข้อมูลที่เป็นจริง (Know the Facts)

ในฟีเจอร์นี้ ผู้ใช้จะมองเห็นแบนเนอร์แจ้งเตือนปรากฏอยู่บนคอนเทนท์วิดีโอในกรณีที่วิดีโอนั้นยังไม่ได้รับการยืนยันว่า ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องแล้ว โดยจะมีข้อความปรากฏขึ้น เพื่อให้ผู้ใช้ได้ฉุกคิดและพิจารณาอีกครั้งว่า จะเลือก “ยกเลิกการแชร์” หรือ “แชร์ต่อไป”

  • การกรองความคิดเห็น (Filter Comments)

ในฟีเจอร์นี้ ผู้ใช้จะสามารถกำหนดได้ว่า Keyword หรือ คำใดที่ไม่อนุญาตให้ปรากฏอยู่ในความคิดเห็น (Comment)ใต้วิดีโอของตัวเอง นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถกำหนดได้ว่า ใครที่สามารถแสดงความคิดเห็น (Comment) ใต้วิดีโอของตัวเองได้

  • การพิจารณาทบทวน (Rethink)

การแจ้งเตือนผู้ใช้ก่อนการแสดงความคิดเห็น (Comment) ในวิดีโอของผู้ใช้คนอื่นๆ ซึ่งอาจมีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม โดยจะมีข้อความแจ้งเตือนว่า ต้องการโพสต์ความคิดเห็น (Comment) นั้นหรือไม่

นอกจากนี้ TikTok ยังให้ความสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกันให้เยาวชนได้ใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลอย่างมีความรู้และปลอดภัย ผ่านฟีเจอร์ต่างๆ ในโหมด Family Pairing หรือ การแนะนำโดยผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองสามารถเชื่อมต่อและเข้าไปบริหารจัดการบัญชีของบุตรหลานในการตั้งค่าความปลอดภัยต่างๆ อันเป็นจุดเริ่มต้นของการให้ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลให้กับเยาวชน โดยการตั้งค่า โหมด Family Pairing หรือ การแนะนำโดยผู้ปกครอง สามารถทำได้โดยไปที่หน้า การตั้งค่าและความเป็นส่วนตัว (Setting and Privacy) => เลือกที่ Family Pairing หรือ การแนะนำโดยผู้ปกครอง หลังจากนั้นจะสามารถเชื่อมต่อการใช้แพลตฟอร์มระหว่างบัญชีของผู้ปกครองกับบัญชีของบุตรหลาน เพื่อให้ผู้ปกครองสามารถตั้งค่าความปลอดภัยต่างๆ เกี่ยวกับการใช้แพลตฟอร์มของบุตรหลานได้อย่างสะดวก ไม่ว่าจะเป็นการจำกัดเนื้อหาที่อาจไม่เหมาะสม (Restricted Mode), การจำกัดเวลาการใช้หน้าจอ (Screen Time Management) รวมถึงการส่งข้อความส่วนตัว (Direct Message) นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์ความปลอดภัยอื่นๆ ดังต่อไปนี้

  • การค้นหา (Search)

ผู้ปกครองสามารถเข้าไปตั้งค่ากำหนดการค้นหา (Search) ของบุตรหลานได้ ทั้งเนื้อหา ผู้ใช้ แฮชแท็ก และเสียง

  • ความคิดเห็น (Comments)

ผู้ปกครองสามารถเข้าไปตั้งค่าได้ว่า ใครสามารถเข้ามาแสดงความคิดเห็น (Comment) ในวิดีโอของบุตรหลานได้ โดยสามารถเลือกเปิดให้ทุกคนเข้ามาแสดงความคิดเห็น หรือเลือกเฉพาะคนที่รับเป็นเพื่อน หรือเลือกไม่ให้มีผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็นได้

  • การค้นหาและดูเนื้อหา (Discoverability)

ผู้ปกครองสามารถเข้าไปตั้งค่าความเป็นส่วนตัว (Privacy Setting) ให้กับบัญชีของบุตรหลานได้ หรือกำหนดว่า ใครที่สามารถเข้าถึงหรือดูเนื้อหาของบุตรหลานได้ รวมทั้งสามารถตั้งค่าเป็นสาธารณะ (Public) ที่เปิดให้ทุกคนสามารถค้นหาและดูเนื้อหาได้

  • วิดีโอที่ชื่นชอบ (Liked Videos)

ผู้ปกครองสามารถกำหนดได้ว่า ใครที่จะสามารถดูวิดีโอที่บุตรหลานของคุณเข้าไปกดไลค์ หรือชื่นชอบได้

 

 

ที่มา : TikTok

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่
กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!

Linda Barbara

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Vestibulum imperdiet massa at dignissim gravida. Vivamus vestibulum odio eget eros accumsan, ut dignissim sapien gravida. Vivamus eu sem vitae dui.

Recent posts

Recent comments