fbpx
หน้าแรกบทความระวัง!! ถูกหลอกเงินใน Facebook เมื่อรับหรือส่งข้อความ

ระวัง!! ถูกหลอกเงินใน Facebook เมื่อรับหรือส่งข้อความ

Author

Date

Category

แชร์บทความน่าสนใจได้ที่นี่

หลายๆ คนคงเคยได้ยินหรือทราบข่าวการหลอกลวงเรื่องเงินที่เกิดขึ้นใน Facebook กันมาบ้างแล้ว ซึ่งจะกระทำโดยอาชญากรบนไซเบอร์ โดยจะทำการสร้างบัญชีปลอมหรือแฮกเข้าบัญชีของผู้ใช้ Facebook ที่มีอยู่ บัญชีผู้ใช้ปลอมหรือบัญชีผู้ใช้ที่ถูกละเมิดความปลอดภัย จะพยายามหลอกให้ผู้ใช้ส่งเงินหรือโอนเงินให้โดยจะส่งข้อความที่เป็นส่วนตัวถึงคนๆ นั้น หากมีผู้ที่ไม่หวังดีพยายามส่งข้อความหาผู้ใช้ ให้ผู้ใช้กดรายงานเรื่องนี้
การหลอกลวงเรื่องเงินที่พบบ่อย เมื่อรับหรือส่งเงินผ่านทางข้อความ มีดังนี้

– การหลอกลวงเรื่องความรัก
การหลอกลวงเรื่องความรัก โดยปกติมิจฉาชีพที่หลอกลวงเรื่องนี้ จะส่งข้อความในแนวหวานๆ ให้กับผู้ที่ตนไม่รู้จัก โดยจะอ้างว่าโสด, หย่าร้าง, เป็นม่าย หรือมีชีวิตคู่ที่สั่นคลอน ผู้ที่เป็นมิจฉาชีพจะพยายามสร้างความสัมพันธ์ออนไลน์โดยหวังว่าจะได้รับเงินเพื่อนำไปใช้จ่ายสิ่งต่างๆ เช่น เที่ยวบินหรือวีซ่า โดยมิจฉาชีพเหล่านั้นอาจจะใช้รูปภาพบุคคลจากสถาบันที่เป็นทางการซึ่งหาได้ในโลกออนไลน์ เช่น กองทัพหรือหน่วยงานราชการต่างๆ เน็ตไอดอล เป็นต้น เป้าหมายของมิจฉาชีพ คือ การพยายามสร้างความเชื่อใจให้กับเหยื่อ ดังนั้น การสนทนาอาจดำเนินหลายอาทิตย์ ก่อนที่จะออกอุบายขอเงินจากผู้ที่ถูกหลอก

– การหลอกลวงเรื่องฉลากกินแบ่งรัฐบาล
การหลอกลวงเรื่องฉลากกินแบ่งรัฐบาลนั้น โดยส่วนมากจะมาจากบัญชีผู้ใช้ที่แอบอ้างเป็นคนที่คุณรู้จักหรือแอบอ้างข้อมูลส่วนตัวที่ปลอมแปลงขึ้นมาอ้างว่าเป็นองค์กรหนึ่ง ข้อความนั้นจะแอบอ้างว่าคุณเป็นผู้โชคดีที่ได้รับรางวัลผลฉลากกินแบ่ง และจะได้รับเงินจากการถูกรางวัลนั้น หากแต่คุณต้องจ่ายเงินล่วงหน้าเป็นจำนวนเล็กน้อย ผู้ที่เป็นมิจฉาชีพอาจจะขอให้คุณบอกข้อมูลส่วนตัว เช่น ที่อยู่ เลขบัตรประจำตัวประชาชนของคุณ หรือรายละเอียดต่างๆ ของบัญชีธนาคาร เป็นต้น

– การหลอกลวงเพื่อรับบริจาค
การหลอกลวงเพื่อรับบริจาคประเภทนี้ จะมาจากบัญชีผู้ใช้ที่แอบอ้างเป็นบุคคลในศาสนาที่มีชื่อเสียง หรือจากบัญชีผู้ใช้ที่ปลอมเป็นตัวแทนจากองค์กรการกุศลหรือสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้าต่างๆ ในข้อความ โดยมิจฉาชีพจะขอให้คุณร่วมบริจาคเงินเพื่อสนับสนุนหรือช่วยเหลือองค์กรเหล่านั้น

– การหลอกลวงเรื่องมรดก
การหลอกลวงเรื่องมรดกนั้น ผู้ที่มาหลอกลวงจะอ้างตัวว่าเป็นทนายความหรือมาจากสำนักกฎหมาย โดยแอบอ้างว่าเป็นผู้ดูแลมรดกของบุคคลที่เสียชีวิตไปแล้ว โดยในข้อความที่ส่งมาให้คุณนั้นจะระบุว่าคุณได้รับมรดก ผู้ที่หลอกลวงหรือมิจฉาชีพอาจจะขอให้คุณบอกข้อมูลส่วนตัว เช่น ที่อยู่ เลขบัตรประจำตัวประชาชนของคุณ หรือรายละเอียดต่างๆ ของบัญชีธนาคาร เป็นต้น

– การหลอกลวงเรื่องสินเชื่อ
ผู้หลอกลวงเรื่องสินเชื่อ จะส่งข้อความและฝากโพสต์และความคิดเห็นในเพจและกลุ่มต่างๆ โดยจะเสนอหรืออ้างว่ารู้จักผู้ที่ปล่อยสินเชื่อทันใจในอัตราดอกเบี้ยต่ำ เพียงแค่คุณต้องจ่ายเงินล่วงหน้าเป็นจำนวนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

บุคคลที่ต้องระวัง ใน Facebook เพื่อป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ

– ผู้ที่ขอเงินจากคุณ โดยที่คุณไม่รู้จักตัวตนจริงๆ
– ผู้ที่ขอให้คุณช่วยจ่ายค่าธรรมเนียมล่วงหน้าเพื่อรับสินเชื่อ รางวัล หรือของกำนัลจากการชนะรางวัลต่างๆ
– ผู้ที่ขอให้คุณนำการสนทนาของคุณออกจาก Facebook เช่น ที่อยู่อีเมล
– ผู้ที่อ้างว่าเป็นเพื่อนหรือญาติพี่น้องที่ประสบภาวะฉุกเฉิน โดยที่คุณไม่เคยรู้จักหรือทราบมาก่อน
– การสะกดคำหรือใช้คำศัพท์ที่ไม่ถูกต้อง

ดังนั้น ผู้ใช้ Facebook ไม่ควรไว้ใจหรือเชื่อใจใครง่ายๆ เพียงเพราะแค่การมาพูดคุยเบื้องต้น โดยที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน เพราะนั่นจะทำให้ผู้ใช้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพได้ ควรระวังและป้องกันการใช้บัญชี Facebook ด้วยการตั้งรหัสและเปลี่ยนรหัสอยู่สม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้แฮกเกอร์เข้าถึงบัญชีผู้ใช้ของเราได้

 

เกาะติดข่าวสารการตลาดออนไลน์ เทคนิคการโปรโมทโฆษณา
แค่กดเป็นเพื่อนกับ ไลน์@inDigital ที่นี่

เพิ่มเพื่อน

 

 

Fanpage : INdigital การตลาดออนไลน์
เว็บไซต์ : www.indigital.co.th

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่
กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!

Linda Barbara

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Vestibulum imperdiet massa at dignissim gravida. Vivamus vestibulum odio eget eros accumsan, ut dignissim sapien gravida. Vivamus eu sem vitae dui.

Recent posts

Recent comments