fbpx
หน้าแรกบทความเล่นเกมมากๆ เสี่ยงเป็นโรคติดเกม หนึ่งในโรคทางจิตเวช

เล่นเกมมากๆ เสี่ยงเป็นโรคติดเกม หนึ่งในโรคทางจิตเวช

Author

Date

Category

แชร์บทความน่าสนใจได้ที่นี่

องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศให้ โรคติดเกม เป็นหนึ่งในโรคทางจิตเวช ซึ่งถือว่าเป็นโรคที่เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาสมอง พัฒนาการ และพฤติกรรมของเด็ก มีผลกระทบในด้านลบต่อสุขภาพ ครอบครัว การศึกษา อาชีพ และทางสังคม โดยในประเทศไทย คาดว่าจะมีเด็กติดเกมและมีเด็กเสี่ยงติดเกม ประมาณ 2 ล้านคน

โรคติดเกม (Gaming Disorder) คือ โรคที่เกิดจากพฤติกรรมการเสพติดทางสมอง ซึ่งมีลักษณะคล้ายการติดสารเสพติด จะเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาสมอง พัฒนาการ และพฤติกรรมของเด็กๆ ซึ่งส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการเล่นเกมทางอินเทอร์เน็ตหรือทางสื่อโซเซียล

อาการที่สำคัญ

1.จะใช้เวลาเล่นนานเกินไป

2.ขาดการควบคุมตนเองในการใช้ชีวิตปกติ เช่น การกิน การนอน

3.เสียหน้าที่การเรียนและการงาน

ผลของการติดเกมในแต่ละช่วงจะมีผลที่ต่างกัน ดังนี้

  • เด็กก่อนวัยเรียน จะทำให้เกิดสมาธิสั้น ขาดทักษะการเข้าสังคม และจะมีพัฒนาการช้ากว่าเด็กปกติ
  • เด็กในช่วงวัยเรียน จะทำให้เป็นคนอ้วน สายตาสั้น มีอารมณ์รุนแรง ติดเกม และขาดวินัยทางการเรียน
  • เด็กในช่วงวัยรุ่น จะมีค่านิยม พฤติกรรมทางเพศที่เปลี่ยนแปลงไป ติดค่านิยมบริโภค ถูกรังแก ถูกล่อลวงง่าย

หากมีปัญหานี้ เกิดขึ้นกับครอบครัวจะมีวิธีป้องกันหรือแก้ไขอย่างไร

การที่เด็กอยู่นิ่งๆ ไม่มีความซุกซน เพราะเอาแต่นั่งเล่นเกมในแท็บเล็ต หรือในคอมพิวเตอร์ จะส่งผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าผลดี ดังนั้นผู้ปกครองควรให้เด็กเล่นสื่อโซเซียลอย่างพอดี ไม่ตามใจ เล่นในเวลาที่เหมาะสม และจำกัดเวลาในการเล่น ก็จะช่วยเสริมสร้างทักษะความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งมีแนวทางนี้

1.ให้เด็กได้จับหรือเล่นแท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ เมื่อช่วงอายุ 4 ขวบขึ้นไป

2.เวลาที่เด็กเล่นเกมผู้ปกครองต้องคอยแนะนำอยู่ข้างๆ และควรเลือกเกมที่เหมาะสมกับวัย เกมที่เล่นต้องไม่มีความรุนแรง หรือควรเป็นเกมที่เสริมพัฒนาการของเด็กให้เหมาะสมกับวัย

3.จำกัดเวลาในการเล่น ให้เล่นเกมได้ไม่เกิน 1-2 ชั่วโมง/วัน และไม่ควรให้เล่นก่อนนอน เพราะจะเป็นการกระตุ้นให้นอนหลับยากมากขึ้น

สิ่งที่สำคัญ ผู้ปกครองไม่ควรเลี้ยงลูกหลานด้วยเทคโนโลยีหรืออุปกรณ์โซเซียลต่างๆ เพราะจะทำให้เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าว รุนแรง ชอบเอาชนะ เด็กจะไม่เชื่อฟังในสิ่งที่ผู้ปกครองตักเตือนได้

วิธีการเล่นเกมแต่พอดี

อายุที่ควรเริ่มในการเข้าถึงเกมหรือสื่อบันเทิงออนไลน์ ควรมีอายุ 13 ปีขึ้นไป และต้องควบคุมการเล่นเกม 9 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

การสำรวจตัวเองว่าอยู่ในภาวะติดเกมหรือไม่

ระดับเล่นปกติ – วินัยการแบ่งเวลาในการเล่นเกมหรือรับชมสื่อออนไลน์จากเกมด้วยความพอดี เช่น ช่วงเวลาพัก หรือเล่นยามว่าง และควรจำกัดเวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง

ระดับเล่นจนติดใจ – วินัยการแบ่งเวลาในการเล่นเกมหรือรับชมสื่อออนไลน์จากเกมจะมีความเกินเวลาแล้ว อารมณ์และพฤติกรรมจะเริ่มมีความกังวล เหงา เริ่มห่างเหินจากคนรอบช้าง ควรมีการจำกัดการเล่นไม่เกิน 2 เกม

ระดับเล่นจนเริ่มสงสัย – วินัยการแบ่งเวลาในการเล่นเกมหรือรับชมสื่อออนไลน์จากเกมจะมีการใช้เวลามากเกินไป อารมณ์และพฤติกรรมจะเริ่มมีความหงุดหงิด เบื่อหน่าย เศร้า ชอบอยู่ตามลำพัง ชอบอยู่คนเดียว ควรมีการหยุดหรือพักห่างจากการเล่นเกมประมาณ 2 วัน

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ถ้าเริ่มสงสัยว่าตัวเองจะอยู่ในภาวะติดเกม ควรจะหางานอดิเรกทำเพื่อมาทดแทนช่วงเวลาที่เอาไปใช้ในการเล่นเกม หรืออยู่กับเพื่อนและคนรอบข้างมากขึ้น พูดคุยกับคนในครอบครัว ไม่อยู่ตามลำพัง หากีฬา ร้องเพลง ออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมต่างๆ และควรศึกษาเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพื่อเป้าหมายในอนาคต

สำหรับเด็กที่มีภาวะติดเกม วิธีการรักษาแนะนำให้ไปพบจิตแพทย์ เพื่อวินิจฉัยอาการว่ามีภาวะติดเกมแค่ไหน จะได้มีการรักษาได้ถูกต้อง ซึ่งการรักษาจะเริ่มตั้งแต่ มีการพูดคุยให้คำปรึกษา แนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จนไปถึงการใช้ยารักษาต่อไป

 

แบบทดสอบว่าอยู่ในภาวะติดเกมหรือไม่?

 

 

เพิ่มเพื่อน

 

 

ติดต่อ Line ID : @indigital (มีนะคะ)
คลิกเพื่อ ADD Line : https://line.me/R/ti/p/%40indigital

Fanpage : INdigital การตลาดออนไลน์
คลิก https://www.facebook.com/indigital.co.th/
เว็บไซต์ : www.indigital.co.th

 

ที่มา – สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่
กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!

Linda Barbara

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Vestibulum imperdiet massa at dignissim gravida. Vivamus vestibulum odio eget eros accumsan, ut dignissim sapien gravida. Vivamus eu sem vitae dui.

Recent posts

Recent comments