fbpx
หน้าแรกบทความวัดผล KPI บน Facebook

วัดผล KPI บน Facebook

Author

Date

Category

แชร์บทความน่าสนใจได้ที่นี่

KPI ที่ต้องใช้สำหรับการทำการตลาดบน Facebook และใช้สื่อสารกับเอเจนซี่ สำหรับคนที่เคยซื้อโฆษณาบน Facebook หรือเคยจ้างเอเจนซี่ในการโฆษณา Facebook จะเข้าใจว่า สิ่งที่ผู้ใช้ต้องการนั้น ไม่รู้ว่าจะเรียกหรือสื่อสารอย่างไรให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน สุดท้ายก็จะเสียเวลากว่าจะทำความเข้าใจกัน เพื่อเป็นการประหยัดเวลา ผู้ใช้ควรทำความรู้จักกับ KPI ที่ต้องใช้ในการทำการตลาดบน Facebook กันก่อน เมื่อผู้ใช้รู้ในส่วนนี้แล้วการทำงานก็จะมีความเร็วขึ้นจากเดิมมากถึง 50% เลยทีเดียว

KPI คืออะไร?

Key Performance Indicator หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า KPI เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลหรือประเมินผลการทำงานในเชิงข้อมูล เป็นตัวที่กำหนดประสิทธิภาพของผลงานที่ผู้ใช้ได้ทำนั้นว่าผ่านเกณฑ์หรือไม่ สำหรับการทำธุรกิจก็ต้องมี KPI ไว้ใช้ในการประเมินผลงานเช่นเดียวกัน

KPI ที่จำเป็นที่ต้องใช้ในการวัดผลประกอบการ หรือใช้ในการสื่อสารกับพนักงาน องค์กร รวมถึงเอเจนซี่ ว่าผู้ใช้ต้องการผลตอบรับ หรือผลประกอบการให้เป็นไปในรูปแบบไหน สำหรับในการกำหนด KPI จะอ้างอิงจากวัตถุประสงค์หรือผลลัพธ์ที่ต้องการ รวมถึงปัจจัยต่างๆ ที่สัมพันธ์กับวัตถุประสงค์นั้น ซึ่งสามารถใช้เป็นตัวดัชนีชี้วัดความสำเร็จในการทำงานได้

การวัด KPI สำหรับการตลาดบน Facebook ก็เหมือนกับการตั้งเป้าหมายที่มีการตั้งความสำเร็จของธุรกิจไว้แล้ว โดยจะมีการแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การวัดผลด้านคุณภาพ และ การวัดผลด้านโฆษณา

การวัดผลด้านคุณภาพ

การวัดผลด้านคุณภาพ ในแต่ละองค์กรจะมีการวัดผลในส่วนนี้ที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ละประเภทของธุรกิจขององค์กรนั้น แต่สำหรับส่วนที่ทุกองค์กรสามารถนำไปใช้ในการวัดผลได้เหมือนกันสำหรับทุกองค์กรได้ คือ ความถี่ที่ใช้ในการโพสต์

ความถี่ที่ใช้ในการโพสต์ (Post Type and Frequency) ความถี่ในการโพสต์ จะส่งผลโดยตรงในการสร้างการรับรู้ ยิ่งความถี่ในการโพสต์มีความสม่ำเสมอเท่าไหร่ ผู้ที่ใช้งาน Facebook ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายก็จะมีโอกาสที่ได้เห็นในสิ่งที่โพสต์มากขึ้น

ประเภทของการโพสต์

ประเภทหรือรูปแบบของการโพสต์จะถูกแบ่งออกเป็น 4 อย่างด้วยกัน คือ

  1. การโพสต์ Text

การโพสต์แบบ Text คือ การใช้การพิมพ์โพสต์โดยตรง ซึ่งจะไม่แนะนำการโพสต์แบบนี้ เพราะด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป การพิมพ์ข้อความธรรมดาจะทำให้สิ่งที่โพสต์สื่อออกไปถูกเลื่อนหายไปใน New feed บน Facebook แต่ถ้าการพิมพ์โพสต์นั้น มีความยาว และเป็นการให้ความรู้ ก็อาจจะเพิ่มความน่าสนใจให้ผู้ที่ใช้งานบนหน้าฟีดได้

ที่มารูปภาพ : อีเจี๊ยบ เลียบด่วน

  1. การโพสต์ Photo

การโพสต์แบบการใช้รูปภาพเป็นส่วนประกอบเนื้อหา การเล่าเรื่องราวผ่านภาพ หรือจะทำเป็นภาพแบบ Photo Series ก็ได้ ซึ่งในการใช้รูปภาพเป็นสื่อประกอบสามารถดึงดูดกลุ่มลูกค้าได้ในระดับนึง ซึ่งองค์ประกอบการใช้คำหรือตัวอักษรที่วางในภาพ และการเลือกภาพที่จะนำมาใช้ จะมีผลอย่างมากในการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับโพสต์นั้น

  1. การโพสต์ Video

การโพสต์แบบวิดีโอ เป็นหนึ่งในช่องทางที่สามารถสร้าง Engagement ได้เป็นอย่างดีสำหรับ Facebook และในปัจจุบัน Facebook ได้ให้ความสนใจคอนเทนท์ของวิดีโอมากขึ้นด้วย การใช้วิธีการโพสต์วิดีโอในการสื่อสารจึงจัดเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่สามารถทำให้เกิด Engagement ได้เป็นอย่างดี

  1. การโพสต์ Link

การโพสต์โดยการใช้ลิงค์วางเพื่อดึงให้ผู้ที่ติดตามกดคลิกเข้ามา แล้วนำออกไปอ่านคอนเทนท์บนหน้าเว็บไซต์ที่วางลิงค์ไว้ ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีที่ดีในการสร้าง Traffic สำหรับเว็บไซต์ แต่สำหรับ Facebook แล้วเหมือนเป็นการที่พยายามทำให้คนออกจากแพลตฟอร์มของ Facebook  ซึ่งจะทำให้ Facebook เกิดการแสดงผลที่น้อยลงได้

ค่าสถิติสำหรับการวัดผล KPI บน Facebook

– Reach นับจำนวนคนที่มองเห็น ซึ่งจะนับเป็นจำนวนคน แบบไม่ซ้ำ ซึ่งจำนวนคนที่มองเห็นไม่สามารถยืนยันได้ว่าจะขายสินค้าได้เสมอไป แต่สามารถที่จะช่วยบอกได้ว่ามีคนเห็นคอนเทนท์ หรือแคมเปญของผู้ใช้มากน้อยแค่ไหน ถ้าต้องการสร้างการรับรู้หรือกระจายคอนเทนท์ หรือแคมเปญ ขยายออกเป็นวงกว้าง Reach ถือว่าเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ดี

– Impression นับจำนวนผู้ที่มองเห็นแต่ในส่วนของ Impression จะนับเป็นจำนวนครั้งที่เกิดการมองเห็นซึ่งจำนวนคนที่เห็นอาจจะเป็นคนเดิมที่มาเห็นซ้ำได้

– Click จำนวนคนที่คลิกเข้าไปดูคอนเทนท์, แคมเปญ หรือลิงค์ที่ไปยังเว็บไซต์ของคุณ ยิ่งจำนวนการคลิกมีมากเท่าไหร่แสดงว่ามีคนให้ความสนใจสื่อของคุณมากเท่านั้น แต่การให้ความสนใจก็ไม่ได้แปลว่าทุกคนที่คลิกเข้ามาจะซื้อหรือใช้บริการธุรกิจสินค้าของคุณ ในส่วนของการคลิกจะเป็นตัวบอกว่ามีคนให้ความสนใจในคอนเทนท์หรือแคมเปญนั้นเป็นจำนวนเท่าไร มากน้อยเพียงใด

– Engagement คือ คนที่เข้ามามีปฎิสัมพันธ์ต่อคอนเทนท์ หรือแคมเปญ ไม่ว่าจะเป็นการกดไลค์ คอมเมนต์ หรือการแชร์ออกไป ซึ่ง Engagement ของแต่ละคนอาจจะระบุเพียงแค่การกดไลค์ หรือการกดแชร์ก็ได้ ในส่วนนี้ต้องมีการสื่อสารให้ตรงกันว่า Engagement ที่ต้องการนั้นคืออะไร การมี Engagement บอกถึงความสนใจที่ผู้บริโภคที่มีให้กับคอนเทนท์ หรือแคมเปญนั้น การที่มี Engagement เป็นจำนวนมากสามารถบอกได้ถึงสิ่งที่ทำ ได้ให้ความช่วยเหลือหรือแก้ปัญหาให้กับผู้บริโภคได้

– Action เป็นการกระทำต่อคอนเทนท์ หรือแคมเปญ เช่น การสั่งซื้อสินค้า การลงทะเบียนเรียน หรือ การทำตามสิ่งที่บอกให้ทำในคอนเทนท์นั้น ซึ่งในส่วน Action ยิ่งมีจำนวนมากเท่าไหร่โอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการทำก็มีมากขึ้นเท่านั้น

KPI สำหรับการทำโฆษณา

KPI สำหรับการทำโฆษณา ในส่วนนี้สามารถใช้ได้ทั้งในกรณีวิเคราะห์แคมเปญที่ได้ทำขึ้นมา รวมไปถึงใช้สำหรับพูดคุยกับเอเจนซี่เพื่อระบุสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการให้ทำการตลาดในรูปแบบไหน ถ้ามีความชัดเจนมากเท่าไหร่ก็สามารถที่จะประหยัดเวลาและลดค่าใช้จ่ายในการทำการตลาดมากขึ้น KPI ที่ใช้สำหรับการทำการตลาด ได้แก่

  • CPM (Cost per thousand impression)

Cost per thousand impression (CPM) คือ ค่าใช้จ่ายต่อการมองเห็น 1,000 ครั้ง การมองเห็นในที่นี้จะนับรวมคนที่เห็น โฆษณานั้นซ้ำๆ ด้วยเช่นกัน การซื้อโฆษณาประเภทนี้ไม่แนะนำสำหรับเป้าหมายในการสร้างยอดขาย เนื่องจากคนเห็นโฆษณาเพียงอย่างเดียว อาจจะไม่ได้สนใจในการซื้อสินค้านั้น ซึ่งจะเป็นการทำให้ผู้ใช้เสียเงินไปกับการมองเห็นเป็นจำนวนมาก

  • CTR (Click through rate)

Click through rate (CTR) คือ จำนวนอัตราคนคลิกต่อการมองเห็น ยิ่งมีคนคลิกที่แคมเปญสินค้าของคุณมาเท่าไหร่ จะเป็นจุดที่บอกถึงความสนใจที่ผู้บริโภคมีให้กับแคมเปญสินค้าของคุณมากเท่านั้น ถ้าจำนวนเปอร์เซ็นต์มีจำนวนมากสามารถบอกได้ว่าผู้บริโภคได้ให้ความสนใจในแคมเปญสินค้ามาก

  • CPC (Cost per click)

Cost per click (CPC) คือ ค่าใช้จ่ายต่อ 1 การคลิก ถ้าผู้ใช้ต้องการซื้อโฆษณาแนะนำตัวนี้เพราะว่า ต่อให้คนมองเห็นและไม่คลิกผู้ใช้ก็จะไม่เสียเงิน ผู้ใช้จะเสียเงินก็ต่อเมื่อมีคนคลิกโฆษณาเท่านั้น สำหรับตัวชี้วัดว่า ผู้ใช้ได้จ่ายเงินในการโฆษณาแบบ CPC ถูกหรือแพง ต้องดู CVR ควบคู่กันไป

  • CVR (Conversion rate)

Conversion rate (CVR) คือ เปอร์เซ็นต์ที่ใช้วัดคนที่ลงทะเบียน หรือซื้อสินค้าต่อคนที่เข้ามาเยี่ยมชมสินค้าของคุณ มีค่าตัวเลขเท่าไหร่ก็จะเป็นตัวที่ใช้บอกถึงความคุ้มค่าของ CPC ที่ได้จ่ายไป ยิ่งมีจำนวนเปอร์เซ็นต์มากก็ยิ่งดี เพราะแสดงว่าแคมเปญของคุณสามารถที่จะทำยอดขายได้

  • CPA (Cost per action)

Cost per action (CPA) คือ ค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการทำแคมเปญต่อลูกค้า 1 คน ที่มีการซื้อสินค้าหรือบริการของคุณ เป็นค่าที่สำคัญที่สุดเพราะจะเป็นตัวที่กำหนดว่าแคมเปญนั้นได้กำไรหรือขาดทุน

ทั้งหมดนี้ คือ การวัดผล KPI บน Facebook สำหรับผู้ที่จะลงโฆษณาหรือทำธุรกิจบน Facebook ก็ควรศึกษาตัวดัชนีชี้วัดให้ดีก่อน ถ้าทำไปแล้วสินค้าหรือบริการนั้นจะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด จะได้ไม่เสียงบประมาณไปโดยสิ้นเปลือง

 

เกาะติดข่าวสารการตลาดออนไลน์ เทคนิคการโปรโมทโฆษณา
แค่กดเป็นเพื่อนกับ ไลน์@inDigital ที่นี่

เพิ่มเพื่อน

 

 

Fanpage : INdigital การตลาดออนไลน์
เว็บไซต์ : www.indigital.co.th

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่
กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!

Linda Barbara

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Vestibulum imperdiet massa at dignissim gravida. Vivamus vestibulum odio eget eros accumsan, ut dignissim sapien gravida. Vivamus eu sem vitae dui.

Recent posts

Recent comments