ตอนนี้โลกได้หมุนไปสู่ยุค Internet of Things ไม่เพียงแต่ธุรกิจที่นำอุปกรณ์จำพวก Big Data Analytics เข้ามาใช้ในธุรกิจแล้ว ยังคงมีอุปกรณ์ภายในบ้านก็ยังคงเชื่อมต่อหากันอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นกล้องวงจรปิด ทีวี หรือ สิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรานั่นเอง เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่คนยุคใหม่นั่นเอง
อย่างไรก็ตามยังคงมีอปุกรณ์ IoT ก็คงมีปัญหาเรื่องความปลอดภัย เพราะมีแฮกเกอร์มือดีแพร่กระจายมัลแวร์ เข้าสู่อุปกรณ์ นับ แสนเครื่อง และยังทำให้เป็นกองทัพ Zombie เพื่อโจมตีแบบ DDoS ไปยังเป้าหมายที่ต้องการ ดังนั้น เราต้องมีความปลอดภัยให้มากยิ่งขึ้น
ประเด็นด้านความปลอดภัยของ IoT ในปัจจุบัน
ความท้าทายของเทคโนโลยี Internet of Things ในปัจจุบัน ซึ่งสามารถสรุปได้ ดังนี้
- ขอบเขตและการขยายระบบของ IoT ก่อให้เกิดปัญหาด้าน Visibility
- มาตรฐานและโปรโตคอลสำหรับ IoT มีจำนวนมากจนเกินไป
- ความปลอดภัยและความเป็นส่วนบุคคลยังคงที่ถกเถียงกันสำหรับการใช้ IoT
- อุปกรณ์ IoT ส่วนใหญ่ยังคงขาดศักยภาพพื้นฐานด้านความปลอดภัย
6 เทคโนโลยีด้าน IoT Security ที่ควรจับตามอง
จากปัญหาที่ได้กล่าวไปข้างต้น Forrester ได้ทำการวิเคราะห์และคาดการณ์ถึงเทคโลยีสำคัญ 6 รายการ โดย IoT Security ที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในอนาคต ดังนี้
1. ความปลอดภัยบนเครือข่าย
ความปลอดภัยของเครือข่าย IoT แตกต่างจากเครือข่ายปกติ เพราะมีการใช้โปรโตคอล มาตรฐาน และอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่หลากหลาย ส่งผลให้ความปลอดภัยมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น คาดว่าในอนาคตจะได้เห็นระบบรักษาความปลอดภัยบนเครือข่าย เช่น Firewall, IPS รวมไปถึง Anti-malware รองรับการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ IoT มากขึ้น
2. การพิสูจน์ตัวตน
สามารถตรวจสอบได้ว่า ใครเป็นเจ้าของอุปกรณ์ IoT สามารถบริหารจัดการผู้ใช้เมื่อมีการใช้อุปกรณ์ IoT เช่นเดียวกับการพิสูจน์ตัวตนบนอุปกรณ์ IoT จะเริ่มเปลี่ยนจากการใช้รหัสผ่านหรือ PIN แบบเดิมๆ ไปเป็นการใช้การพิสูจน์ตัวตนที่ทันสมัยและแข็งเกร่งมากยิ่งขึ้น
3. การเข้ารหัสข้อมูลบน IoT
การเข้ารหัสข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ IoT และระบบหลังบ้านถูกพัฒนาให้รองรับกับอุปกรณ์ IoT ต่างๆ รวมไปถึงการเข้ารหัสข้อมูลทั้ง Liftcycle เช่น การบริหารจัดการกุญแจเข้ารหัส เพื่อปกป้องความลับและความถูกต้องของข้อมูลจากแฮกเกอร์
4. PKI สำหรับ IoT
การเข้ารหัสข้อมูลย่อมมาพร้อมกับการบริหารจัดการกุญแจสำหรับเข้ารหัสที่ดี เจ้าของผลิตภัณฑ์หลายรายพร้อมที่จะพัฒนาโซลูชันสำหรับบริหารจัดการกุญแจสำหรับเข้ารหัสข้อมูลที่พร้อมรองรับอุปกรณ์ IoT หลากหลายรูปแบบมากขึ้น ในขณะที่ตัวอุปกรณ์ IoT เองก็จะถูกพัฒนาให้รองรับการติดตั้ง Digital Certificate จากโรงงานสำหรับให้ซอฟต์แวร์ของ 3rd Party เข้ามาเรียกใช้งานได้ในอนาคต
5. การทำ Security Analytics บน IoT
เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์เพื่อค้นหาเหตุการณ์ที่ผิดปกติ ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้จะมีการนำ AI, Machine Learning และ Big Data Analytics เข้ามาใช้เพื่อตรวจจับพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ รวมไปถึงลดอัตราการเกิด False Positive ได้
6. ความปลอดภัยของ API บน IoT
ความปลอดภัยของ API คือการปกป้องความถูกต้องของข้อมูลที่ส่งไปมาระหว่างแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์ IoT และระบบหลังบ้าน เพื่อให้มั่นใจว่า เฉพาะอุปกรณ์ ผู้ใช้ และแอปพลิเคชันที่ผ่านการพิสูจน์ตัวตนและมีสิทธิ์เท่านั้น นอกจากนั้นยังช่วยตรวจจับภัยคุกคามและการโจมตีมายัง API ได้ด้วย
สำหรับองค์กรใดที่ต้องการนำอุปกรณ์ Internet of Things มาใช้ ควรตะหนักเรื่องความปลอดภัยในการใช้งานโดยนำเอาระบบความปลอดภัยที่กล่าวมาข้างต้นมาใช้เพื่อความปลอดภัยของระบบเครือข่ายและข้อมูลขององค์กรครับ
ติดต่อได้ที่ :
โทร 095-940-2345
ติดต่อ Line ID : @indigital (มี@ นะคะ)
คลิกเพื่อ ADD Line : https://line.me/R/ti/p/%40indigital
Fanpage : INdigital การตลาดออนไลน์
คลิก https://www.facebook.com/indigital.co.th/
เว็บไซต์ : www.indigital.co.th