fbpx
หน้าแรกบทความรายงาน Digital Report 2021 ข้อมูลที่สายดิจิทัล ต้องรู้!!

รายงาน Digital Report 2021 ข้อมูลที่สายดิจิทัล ต้องรู้!!

Author

Date

Category

แชร์บทความน่าสนใจได้ที่นี่

ในปัจจุบันมีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลายในหลายอุปกรณ์ที่มีความทันสมัย ผู้ใช้งานมักมีการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในหลายรูปแบบ และพฤติกรรมการใช้งานของผู้บริโภคยังมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและด้านอื่นๆในอนาคตได้ ข้อมูลเหล่านี้คือข้อมูลการรายงาน Digital Stat ในเดือนเมษายนที่ผ่านมาคุณควรทราบว่ามีข้อมูลใดบ้างที่จะสามารถนำมาใช้ในการศึกษาเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในอนาคตได้

ผู้ร่วมค้นคว้าและทำรายงานฉบับนี้ให้สมบูรณ์

ห้ามเปลี่ยนแปลงข้อมูลในเอกสารนี้ รายงานฉบับนี้ใช้ข้อมูลล่าสุดในการจัดทำขึ้น เพื่อให้ผู้จัดทำได้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบันที่สุดจึงมีการปรับเปลี่ยนค่าบางอย่าง ดังนั้นตัวเลขต่างๆในรายงานนี้จะไม่สามารถเทียบเคียงได้กับตัวเลขที่คล้ายคลึงกันที่ถูกเผยแพร่ในรายงานดิจิทัลทั่วโลกก่อนหน้านี้ และผู้จัดทำไม่ได้นำข้อมูลที่มาจากแพลตฟอร์มสื่อโซเชียลมีเดียมาใช้ จึงอาจส่งผลให้จำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในรายงานของปีนี้อาจมีค่าต่ำกว่ารายงานก่อนหน้านี้

สามารถคลิกที่นี่เพื่ออ่านรายงานภาพรวมทั่วโลกประจำปี 2564 ซึ่งมีแผนภูมิสำคัญและข้อมูลเชิงลึกมากกว่า 200 หน้าจากทั่วโลก และสามารถคลิกที่นี่เพื่ออ่านรายงานดิจิทัลของประเทศในท้องถิ่นประจำปี 2021 โดยมีข้อมูลดิจิทัลที่สำคัญที่สุดในโลก 20 รายการ ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้คนทั่วโลกใช้อินเทอร์เน็ตสื่อสังคมอุปกรณ์มือถือและรายงานภาพรวมของ ECOMMERCE DIGITAL2021 ข้อมูลดิจิทัลที่สำคัญสำหรับทุกประเทศในพื้นที่ทั่วโลก

ข้อมูลภาพรวมจากทั่วโลก

ภาพรวมจากทั่วโลก

จากภาพแสดงถึงรายงานการเคลื่อนไหวของพฤติกรรมการใช้ดิจิทัลทั่วโลกที่ถูกจัดทำขึ้นที่แสดงให้เห็นว่า มีประชากรทั้งหมดที่มีการเคลื่อนไหวบนโลกออนไลน์ต่างๆจำนวน 7.85 พันล้านคน ซึ่งสามารถคิดออกมาได้เป็น 56.5% จากประชากรในเมืองทั้งหมด ต่อมาคือข้อมูลจำนวนของผู้ที่ใช้โทรศัพท์มือถือ ซึ่งมีจำนวน 5.27 พันล้านคนซึ่งสามารถคิดออกมาได้เป็น 67.1% เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชากร ต่อมาคือข้อมูลของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต มีจำนวนผู้ใช้งานสูงถึง 4.72 พันล้านคน ซึ่งสามารถคิดออกมาได้เป็น 60.1% เมื่อเปรียบเทียบจากจำนวนประชากร และข้อมูลสุดท้ายคือ จำนวนผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียที่ยังคงมีการใช้งานอยู่ มีจำนวน 4.33 พันล้านคน ซึ่งสามารถคิดออกมาได้เป็น 55.1% เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชากร ซึ่งจากข้อมูลขางต้นจะเห็นได้ว่ามีการใช้งานแพลตฟอร์มออนไลน์จำนวนมาก ไม่ใช่เพียงแต่ในเมืองใดเมืองหนึ่งเท่านั้นแต่เกือบทุกประเทศทั่วโลก

รายงานความก้าวหน้าของดิจิทัลจากทั่วโลก ซึ่งจากภาพแสดงให้เห็นว่าเมื่อเปรียบเทียบความเติบโตระหว่างปี 2020 กับ 2021 จะเห็นว่าในทุกด้านมีแนวโน้มการเติบโตที่สูงขึ้นพอสมควร ทั้งในด้านของประชากร การใช้โทรศัพท์มือถือ การใช้งานอินเทอร์เน็ต หรือแม้แต่การเคลื่อนไหวบนโซเชียลมีเดีย ซึ่งในทุกด้านมีจำนวนที่เพิ่มขึ้นหรือมีการเติบโตอย่างเห็นได้ชัด และยังมีแนวโน้มว่าจะเติบโตขึ้นไปอีกในทุกปี

ในปัจจุบันสื่อมีหลากหลายประเภท และไม่ใช่เพียงติดตามข่าวสารในโซเชียลเท่านั้น แต่ยังมีการใช้ในด้านอื่นอีก เช่น สำหรับการฟังเพลง เล่นเกม หรือกิจกรรมอื่นๆ จากภาพแสดงถึงรายงานที่เกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ตบนแพลตฟอร์มต่างๆจากทั่วโลก ซึ่งจะเห็นได้ว่าในปีนี้ทั่วโลกต่างใช้เวลาในการทำกิจกรรมอื่นๆบนโลกอินเทอร์เน็ตลดน้อยลง เช่น การดูสตรีม การใช้โซเชียลมีเดียในการพูดคุย การอ่านบทความออนไลน์ การฟังวิทยุ หรือแม้แต่การเล่นเกมก็ตามแต่ ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 นั้นจะทำให้ผู้ใช้งานต้องอยู่บ้านเป็นส่วนใหญ่และหากิจกรรมทำมากขึ้น แต่ผู้ใช้งานกลับใช้เวลาในการฟังเพลงมากขึ้นซึ่งจะเห็นได้ว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 2.2% แม้จะดูเป็นตัวเลขที่ไม่มากนักแต่ก็ดีกว่าลดลง

จากภาพแสดงถึงภาพรวมของการใช้งานอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกซึ่งมีจำนวนการใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกทั้งหมด 4.72 พันล้านคน ซึ่งคิดเป็น 60.1% ซึ่งเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านั้นถือว่ามีจำนวนผู้ใช้งานเพิ่มขึ้น 7.6% หรือประมาณ 332 ล้านคน ซึ่งค่าเฉลี่ยในการใช้เวลาของผู้บริโภคบนโลกอินเทอร์เน็ตประมาณ 6 ชั่วโมง 56 นาที และจากข้อมูลจะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตจะใช้งานผ่านอุปกรณ์ที่เป็นโทรศัพท์มือถือเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีจำนวนมากถึง 92.8% ซึ่งหมายความว่าเกือบจะทุกๆคนจากทั่วโลกที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ

จากภาพแสดงถึงมุมมองที่แตกต่างกันระหว่างผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกซึ่งค่าต่างๆที่แสดงเป็นการเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรที่มี โดยนำเสนอเพื่อการอ้างอิงให้ได้แง่มุมและมุมมองที่แตกต่างกัน

จากภาพแสดงถึงข้อมูลของการใช้อินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกที่ถูกคิดออกมาเป็นอัตราร้อยละ เพื่อให้สามารถเข้าใจและเปรียบเทียบกันได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าตัวเลขต่ำสุดอยู่ที่ 24.4% ในแถบทวีปแอฟริกาตะวันออก และตัวเลขสูงสุดอยู่ที่ 97.0% ในแถบทวีปยุโรปเหนือ ซึ่งแถบทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของไทยอยู่ในระดับกลางๆคือ คิดเป็น 69.0%

จากภาพแสดงถึงจำนวนของการใช้งานและการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในหลายๆประเทศทั่วโลก ที่ถูกเฉลี่ยออกมาเป็นจากภาพแสดงถึงให้เข้าใจง่ายมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าประเทศที่มีการใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือประเทศเดนมาร์ก และประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตสูงถึง 99.0% และประเทศที่มีการใช้อินเทอร์เน็ตน้อยที่สุดคือ ประเทศเอธิโอเปีย คิดเป็น 20.6% ซึ่งอาจเป็นเพราะปัจจัยในหลายๆอย่าง และเช่นเดียวกัน ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 39 จากทั้งหมด 54 อันดับ โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 69.5% ซึ่งหากจะเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของทั่วโลกก็ยังถือว่าสูงกว่าไม่มากเท่าที่ควร

จากภาพแสดงถึงการแบ่งปันผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกโดยภูมิภาค ซึ่งจะเห็นได้ว่าในแถบประเทศที่มีอัตราร้อยละมากที่สุดคือ เอเชียตะวันออก คิดเป็น 25.1% และในแถบประเทศที่มีอัตราร้อยละต่ำที่สุด คือ ในเขตโอเชียเนีย และ เขตแคริบเบียน ที่คิดเป็น 0.6%

จากภาพแสดงถึงจำนวนของประชากรในแต่ละทวีปหรือภูมิภาคที่ไม่ได้มีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต โดยมีหน่วยเป็นล้าน ซึ่งจากภาพจะเห็นว่าภูมิภาคที่มีจำนวนของประชากรที่ไม่ได้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมากที่สุด คือ เอเชียใต้ โดยมีจำนวนผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงหรือเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจำนวน 1,126 ล้านคน ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่ค่อนข้างมากเลยทีเดียว และภูมิภาคที่มีประชากรไม่ได้เชื่อมต่อหรือเข้าถึงอินเทอร์เน็ตน้อยที่สุด คือ ยุโรปเหนือ มีผู้ที่ไม่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเพียงแค่ 3 ล้านคนเท่านั้น

จากภาพแสดงถึงข้อมูลการใช้งานหรือเข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ ซึ่งมีการใช้อินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือมากถึง 4.38 พันล้าน โดยรวมทั้งการใช้อินเทอร์เน็ตส่วนตัว และ WIFI ซึ่งถูกคิดออกมาเป็น 92.8% จากจำนวนผู้ใช้งานทั้งหมด ซึ่งโทรศัพท์มือถือในปัจจุบันก็มีหลากหลายรูปแบบ ทั้งรูปแบบธรรมดาและสมาร์ทโฟนที่ทันสมัย ซึ่งการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์สมาร์ทโฟน คิดเป็น 91.5% จากจำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั้งหมดที่ใช้งานผ่านโทรศัพท์มือถือ และ จำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือธรรมดา มีจำนวน 4.8% ซึ่งก็ถือว่าไม่น้อยเลยทีเดียว ซึ่งยังมีการวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยของระยะเวลาที่ใช้คร่าวๆคือ ประมาณ 3 ชั่วโมง 36 นาที

จากภาพแสดงถึงภาพรวมของความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและอัตราการเปลี่ยนแปลงในปีถัดมา ซึ่งแบ่งความเร็วออกเป็น 3 ส่วนคือ ความเร็วในการดาวน์โหลด ความเร็วในการอัพโหลด และเวลาที่ใช้ ซึ่งจากภาพจะเห็นว่า ค่าเฉลี่ยในการดาวน์โหลดผ่านอินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือ คิดเป็น 48.40 MBPS การอัพโหลด คิดเป็น 12.60 MBPS และเวลาที่ใช้คือ 37 MS (มิลลิวินาที) ซึ่งการเปลี่ยนแปลงปีถัดไป ความเร็วเฉลี่ยในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือมีทั้งเพิ่มขึ้นและลดลง ในด้านของการดาวน์โหลดเพิ่มขึ้น 58.8% การอัพโหลดเพิ่มขึ้น 17.4% และใช้เวลาลดลง 11.9% ซึ่งถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี หรือสามารถเรียกได้ว่าความเร็วในการเชื่อมต่อมีประสิทธิภาพมากขึ้นและใช้เวลาน้อยลงจากเดิม ซึ่งในมุมของอินเทอร์เน็ตคงที่หรือเน็ตบ้านความเร็วเฉลี่ยในการดาวน์โหลดผ่านอินเทอร์เน็ตคงที่สูงกว่าอินเทอร์เน็ตของโทรศัพท์มือถือ โดยคิดเป็น 98.67 MBPS การอัพโหลด คิดเป็น 53.22 MBPS และเวลาที่ใช้คือ 20 MS (มิลลิวินาที) ซึ่งการเปลี่ยนแปลงปีต่อปีในความเร็วเฉลี่ยในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตคงที่มีทั้งเพิ่มขึ้นและลดลง ในด้านของการดาวน์โหลดเพิ่มขึ้น 32.2% การอัพโหลดเพิ่มขึ้น 32.5% และใช้เวลาลดลง 16.7% ซึ่งสรุปได้ว่าการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบคงที่มีประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีกว่า

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับประเทศที่มีความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือ โดยแบ่งเป็นทั้งประเทศที่มีความเร็วมาก และประเทศที่มีการเชื่อมต่อช้า ซึ่งประเทศที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือที่เร็วที่สุดคือ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ รองลงมาคือประเทศเกาหลีใต้ และ ประเทศกาตาร์ ซึ่งอยู่ใน 3 อันดับแรกและยังมีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และสำหรับประเทศที่มีความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือต่ำที่สุด คือ ประเทศเติร์กเมนิสถาน ประเทศอัฟกานิสถาน และประเทศเวเนซุเอลา ทั้งยังมีอัตราการเพิ่มขึ้นต่อปีต่ำอีกด้วย

จากภาพแสดงถึงลำดับเกี่ยวกับความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือจากแต่ละประเทศทั่วโลกโดยความเร็วเฉลี่ยจากทั่วโลกอยู่ที่ 48.40 MBPS ซึ่งประเทศไทยมีความเร็วเฉลี่ยอยู่ที่ 47.11 MBPS ถึงแม้จะน้อยกว่าความเร็วเฉลี่ยของทั่วโลกแค่อันดับเดียวแต่ก็ถือว่าเรายังต้องพัฒนาอีกมากเพื่อให้มีความก้าวหน้าด้านความเร็วมากขึ้น

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับประเทศที่มีความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตคงที่หรือเน็ตบ้าน โดยแบ่งเป็นทั้งประเทศที่มีความเร็วมาก และประเทศที่มีการเชื่อมต่อช้ามาก ซึ่งประเทศที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตคงที่ที่มีความเร็วที่สุดคือ ประเทศสิงคโปร์ ประเทศไทย และ ประเทศฮ่องกง ตามลำดับ และสำหรับประเทศที่มีความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตคงที่ต่ำที่สุด คือ ประเทศเติร์กเมนิสถาน ประเทศคิวบา และประเทศเยเมน

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับที่เกี่ยวกับความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตคงที่จากแต่ละประเทศทั่วโลกโดยความเร็วเฉลี่ยจากทั่วโลกอยู่ที่ 98.67 MBPS ซึ่งในเรื่องของอินเทอร์เน็ตคงที่ของประเทศไทยพบว่าประเทศไทยมีความเร็วเฉลี่ยอยู่ที่ 230.59 MBPS หรืออันดับที่ 2 ของโลก แม้ว่าจะเคยเป็นที่หนึ่งแล้วตกลงมาที่สองก็ตามแต่ยังสามารถรักษาอันดับไว้ได้เท่านี้ก็ถือว่ายังพอเป็นที่น่าพึงพอใจมากแล้ว

จากภาพแสดงถึงอัตราการเข้าชมเว็บไซต์โดยใช้เว็บเบราว์เซอร์ผ่านอุปกรณ์ที่แตกต่างกัน โดยเฉลี่ยแบ่งได้ดังนี้ การเข้าเว็บผ่านโทรศัพท์มือถือคิดเป็น 54.18% การเข้าผ่านแล็ปท็อปคิดเป็น 42.90% การเข้าผ่านแท็บเล็ตหรือคอมพิวเตอร์คิดเป็น 2.84% และการเข้าจากอุปกรณ์อื่นๆ คิดเป็น 0.08% ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบระหว่างปี 2020 กับปี 2021 ในช่วงเวลาเดียวกันพบว่าการใช้งานบนอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ตหรือคอมพิวเตอร์ มีอัตราเพิ่มขึ้นจากปีก่อน แต่ในส่วนของแล็ปท็อปและอุปกรณ์อื่นๆ มีอัตราลดลงเป็นอย่างมากเลยทีเดียว

จากภาพแสดงถึงอันดับของแพลตฟอร์มเว็บเบราว์เซอร์ที่มีผู้คนสนใจและใช้งานมากที่สุดและเรียงลำดับไปยังน้อยที่สุด โดยแพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเยอะที่สุด คือ Chrome โดยคิดเป็น 64.2% เลยทีเดียว และอันดับ 2 คือ Safari ซึ่งผู้ที่จะใช้บริการเว็บเบราว์เซอร์นี้ได้นั้นจะต้องเป็นผู้ที่ใช้โทรศัพท์มือถือรุ่น Apple อย่างแน่นอนซึ่งคิดเป็น 19.0% และในอันดับอื่นๆก็เป็นอัตราร้อยละที่ค่อนข้างห่างจากอันดับ 2 มาก ซึ่งในบางแพลตฟอร์มอาจจะไม่เคยรู้จักมาก่อนเลยก็ว่าได้

จากภาพแสดงถึงเหตุผลในการใช้งานซึ่งในการใช้งานอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภคนั้นก็ถูกใช้ด้วยเหตุผลที่หลากหลายแตกต่างกันไป แต่โดยส่วนใหญ่ในการเข้าเว็บเบราว์เซอร์นั้นถูกใช้เพื่อค้นหาข้อมูลต่างๆมากถึง 63.3% เลยทีเดียว ซึ่งแน่นอนว่าการค้นหาข้อมูลโดยวิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายสุดจึงเป็นเหตุผลให้มีคนใช้งานเพื่อสิ่งนี้มากที่สุด

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับของเว็บไซต์ที่มีผู้เข้าชมและเข้าถึงมากที่สุดในโลก ซึ่งเว็บไซต์ยอดนิยมคือ Google.com เพราะผู้คนส่วนใหญ่เข้ามาใช้งานก็เพื่อค้นหาข้อมูลต่างๆ และเว็บค้นหาข้อมูลที่ดีและครอบคลุมที่สุดก็คือ Google  และที่รองลงมาคือ Youtube.com หรือเว็บด้านความบันเทิงนั่นเอง ตอนนี้ผู้ใช้งานเริ่มใช้งานการฟังเพลงมากขึ้นทำให้เว็บไซต์ Youtube ถูกเข้าถึงมากที่สุดเป็นอันดับ 2 นั่นเอง

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับของเว็บไซต์ที่มีผู้เข้าชมและเข้าถึงมากที่สุดในโลกในส่วนของเว็บที่มีรูปแบบคล้ายๆกัน โดย 3 อันดับแรกยังคงตกเป็นของ Google.com Youtube.com และ Facebook.com

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับของเว็บไซต์ที่มีผู้เข้าชมและเข้าถึงมากที่สุดในโลก โดย 3 อันดับแรกตกเป็นของ Google.com Youtube.com และ Tmall.com โดยใช้เวลาในการชมและจำนวนหน้าที่เข้าถึงต่อวันอยู่ในระดับต้นๆเลยทีเดียว

จากภาพแสดงถึงพฤติกรรมการค้นหาข้อมูลออนไลน์ของผู้บริโภค ซึ่งในปัจจุบันก็มีความหลากหลายมากขึ้น ซึ่งอันดับแรกคือการค้นหาข้อมูลแบบทั่วไป เช่น Google เป็นต้น โดยคิดเป็น 98.0% ต่อมาคือการค้นหาข้อมูลโดยใช้เสียงหรือคำพูดของผู้ค้นหานั่นเองคิดเป็น 46.7% ซึ่งสามารถทำได้ผ่านหลายๆแพลตฟอร์มเพราะในหลายแพลตฟอร์มเริ่มมีการปรับเปลี่ยนให้รองรับมากยิ่งขึ้น ต่อมาคือการหาข้อมูลตามแบรนด์ต่างๆ คิดเป็น 44.7% และสุดท้ายคือการค้นหาภาพหรือการบันทึกภาพต่างๆ เช่น Pinterest เป็นต้น ซึ่งคิดเป็น 33.8%

จากภาพแสดงถึงธุรกิจเครื่องมือค้นหาออนไลน์ที่หลากหลาย แต่ไม่ว่าอย่างไรอันดับหนึ่งที่ครองใจผู้คนทั่วโลกคือ Google ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอยู่เสมอและมีโอกาสอยู่เรื่อยๆ

จากภาพแสดงถึงข้อความหรือคำที่นิยมใช้เพื่อค้นหามากที่สุดใน Google คือ Google Youtube และ Facebook ตามลำดับ

จากภาพแสดงถึงอันดับการใช้งานการสั่งการด้วยเสียง โดยประเทศที่มีการใช้เสียงในการค้นหามากที่สุดคือประเทศอินเดีย ประเทศจีน และประเทศอินโดนีเซีย ตามลำดับ ซึ่งประเทศไทยก็อยู่ในอันดับที่ 4 ถือว่าเป็นประเทศในอันดับต้นๆเช่นเดียวกัน

จากภาพแสดงถึงกลุ่มผู้บริโภคที่ใช้เสียงในการค้นหา แสดงให้เห็นว่ามักเป็นกลุ่มคนอายุ 16-24 ปี เพศชาย ซึ่งถือว่าเป็นช่วงวัยที่ต้องการความสะดวกและรวดเร็ว ซึ่งกลุ่มคนเพศหญิงในช่วงวัยนี้ก็ใช้งานสูงถึง 51.0% เลยทีเดียวแต่ก็ยังคงน้อยกว่าเพศหญิง และเพศชาย อายุ 25-34 ปีอยู่ดี

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับประเทศที่มีการใช้เครื่องมือการบันทึกภาพบนโทรศัพท์มือถือ ซึ่งประเทศที่มีการใช้งานเครื่องมือนี้มากที่สุดคือ ประเทศเม็กซิโก ประเทศบราซิล และ ประเทศโคลอมเบีย ตามลำดับ ซึ่งประเทศไทยอยู่อันดับที่ 6 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยจากทั่วโลก

จากภาพแสดงถึงกลุ่มผู้บริโภคที่ใช้เครื่องมือบันทึกภาพบนโทรศัพท์มือถือมักเป็นกลุ่มคนอายุ 16-24 ปี เพศหญิง และจะสังเกตได้ว่าในทุกช่วงอายุจะมีผู้หญิงใช้งานเครื่องมือนี้มากกว่าผู้ชายเสมอ อย่างที่เขาบอกว่าผู้หญิงมักเป็นฝ่ายที่เก็บรายละเอียดหรือข้อมูลต่างๆเป็นรูปภาพมากกว่าผู้ชาย

จากภาพแสดงถึงอัตราการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการสื่อสารหรือสนทนา ในปัจจุบันการสื่อสารนั้นมีความสะดวกมาก และช่องทางการสื่อสารก็ยังมีเพิ่มมากขึ้นด้วย ซึ่งช่องทางที่ถูกใช้มากที่สุด คือการใช้เพื่อเยี่ยมชมโซเชียลสูงถึง 98% รองลงมาคือ การใช้งานการสนทนาผ่านแอปพลิเคชัน บริการการส่งข้อความ ถัดมาคือใช้เพื่อเข้า Email ซึ่งสำหรับคนทำงานคงจะได้ใช้บ่อยที่สุด ต่อมาคือการโทรคุยคล้ายกับโทรผ่านเครือข่ายมือถือแต่เปลี่ยนมาใช้การโทรโดยใช้อินเทอร์เน็ตแทน และอันดับสุดท้ายคือ การสนทนาด้วยวิดีโอที่สามารถทำได้ผ่านโทรศัพท์มือถือและในปัจจุบันยังสามารถใช้งานผ่านอุปกรณ์อื่นๆได้อีกด้วย

จากภาพแสดงถึงอันดับการใช้งาน Email บนเว็บ โดยมีค่าเฉลี่ยของทั่วโลกอยู่ที่ 78.7% และ 3 อันดับแรกที่มีการใช้งานมากที่สุดคือ ประเทศโปรตุเกส ประเทศโคลอมเบีย และประเทศเม็กซิโก ตามลำดับ

จากภาพแสดงถึงช่วงวัยที่มีการใช้งาน Email บนเว็บมากที่สุดคือช่วงอายุ 25-34 ปี เพศหญิง ซึ่งถ้าหากมองตามจริงแล้วทุกช่วงวัยและทุกเพศมีอัตราการใช้งาน Email บนเว็บอยู่ในระดับใกล้เคียงกันมาก เรียกได้ว่าใช้งานกันทุกเพศทุกวัย

จากภาพแสดงถึงอันดับของการใช้งานการสนทนาแบบวิดีโอผ่านโทรศัพท์มือถือถูกจัดเรียงไว้ 3 อันดับแรกดังนี้ ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศไนจีเรีย ประเทศแอฟริกาใต้ ตามลำดับ ซึ่งในการใช้งานการสนทนารูปแบบวิดีโอนั้นประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ค่อนข้างต่ำ ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของทั่วโลกด้วยซ้ำ แต่ไม่แน่ว่าในอนาคตอาจมีแนวโน้มมากขึ้นก็ได้ เพราะการสนทนาแบบวิดีโอเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน

จากภาพแสดงถึงช่วงอายุที่มีการใช้งานการสนทนารูปแบบวิดีโอบนโทรศัพท์มือถือมากที่สุด คือช่วงอายุ 16-24 ปี เพศหญิง เนื่องจากยังเป็นช่วงวัยที่ยังสามารถรับสิ่งใหม่ๆได้จึงทำให้สามารถใช้งานการสนทนารูปแบบนี้ได้ง่ายมากขึ้น และผู้หญิงเราการได้พูดคุยแบบเห็นหน้ากับใครสักคนถือเป็นเรื่องที่ดี

จากภาพแสดงถึงในการใช้งานบนแพลตฟอร์มออนไลน์แน่นอนว่ามักจะมีเนื้อหาที่เราสนใจและเนื้อหาใหม่ๆให้เราได้ติดตามอยู่เสมอ ซึ่งจากการจัดอันดับพบว่ามีการใช้งานอินเทอร์เน็ตเพื่อเข้าถึงเนื้อหาเกี่ยวกับวิดีโอ รายการโชว์ หรือภาพยนตร์ต่างๆในอินเทอร์เน็ตมากถึง 93.3% ซึ่งไม่ค่อยน่าแปลกใจเพราะว่าสถานการณ์หลายอย่างทำให้เกิดความเครียดและการได้รับชมสื่อต่างๆทำให้สามารถคลายเครียดได้ ซึ่งลำดับต่อมาคือการฟังเพลง สตรีมต่างๆ การดูวิดีโอที่มีคนจัดทำขึ้นหรือ VLOGS การฟังวิทยุออนไลน์ และการฟังpodcasts เป็นต้น

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับการเข้าชมวิดีโอ VLOGS จากทั่วโลก โดยค่าเฉลี่ยของทั่วโลกอยู่ที่ 51.7% และค่าเฉลี่ยของประเทศที่อยู่อันดับสูงสุด 3 อันดับแรก คือ ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศอินเดียตามลำดับ

จากภาพแสดงถึงช่วงอายุที่เลือกชม VLOGS มากที่สุดคือ ช่วงอายุ 16-24 ปี เพศหญิง ซึ่งตัวเลขก็มีความใกล้เคียงกับเพศชายในช่วงอายุเดียวกันด้วย

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับการฟัง Podcasts จากประเทศทั่วโลก โดยค่าเฉลี่ยการฟัง Podcasts จากทั่วโลกอยู่ที่ 44.8% โดย 3 ประเทศแรกที่มีการฟัง Podcasts มากที่สุดคือ ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศจีน และประเทศซาอุดิอาระเบีย ตามลำดับ

จากภาพแสดงถึงช่วงอายุที่ใช้งานการฟัง Podcasts มากที่สุดคือช่วงอายุ 24-34 ปี เพศชาย อาจจะด้วยเป็นช่วงวัยที่ต้องการรับความรู้แบบที่ไม่ต้องอ่านเองจึงเป็นช่วงวัยที่มีการใช้งานมากที่สุด

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับการเล่นวิดีโอเกมบนอุปกรณ์ต่างๆตั้งแต่ช่วงอายุ 16-64 ปี โดยประเภทที่มีอัตราร้อยละมากที่สุดคือ อุปกรณ์อื่นๆนอกเหนือจากที่กล่าวมากถึง 86.1% ต่อมาคือ การเล่นบนสมาร์ทโฟน การเล่นบนแล็ปท็อป อุปกรณ์สำหรับเล่นเกมเฉพาะ การเล่นผ่านแท็บเล็ต และอื่นๆตามลำดับ

จากภาพแสดงถึงอัตราการเล่นวิดีโอเกมจากทั่วโลกมีค่าเฉลี่ยคือ 86.1% และ 3 อันดับแรกจากทั่วโลกที่มีการเล่นวิดีโอเกมมากที่สุดคือ ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศไทย และประเทศเวียดนาม ตามลำดับ ซึ่งประเทศไทยถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 2 เลยทีเดียว

จากภาพแสดงถึงช่วงอายุที่มีการเล่นวิดีโอเกมมากที่สุดคือ ช่วงอายุ 16-24 ปี เพศชาย หากเป็นเรื่องของการเล่นวิดีโอเกมเพศชายมักจะมีอัตราร้อยละนำฝ่ายหญิงในทุกช่วงวัยเลย

จากภาพแสดงถึงสถิติการใช้งานกิจกรรมอื่นๆที่มีความเกี่ยวข้องกับการเล่นเกม โดยจัดอันดับได้ตามนี้ เข้าชมการแข่งขันเกมประเภท Esports เข้าชมการถ่ายทอดสดการเล่นเกมของบุคคลที่ผู้ใช้งานให้ความสนใจ ซื้อไอเท็มหรือคุณสมบัติต่างๆในเกม แบ่งปันรูปภาพหรือวิดีโอเมื่อชนะการเล่น และสุดท้ายคือ เล่นเกม

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับประเทศที่เป็นเจ้าของอุปกรณ์สมาร์ทโฮมมากที่สุด ซึ่ง 3 อันดับแรกคือ สหราชอาณาจักร ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศแคนาดา ตามลำดับ ซึ่งประเทศไทยเรากลับอยู่ในอันดับท้ายๆเลย

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับประเทศที่มีความกังวลเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในทางที่ผิด แน่นอนอยู่แล้วว่าโลกออนไลน์ไม่ว่าจะกระทำสิ่งใดจำเป็นต้องมีข้อมูลยืนยันตัวตน ซึ่งจะแน่ใจได้มากเพียงใดว่าการให้ข้อมูลของตนเองในครั้งนี้มีความปลอดภัย ซึ่ง 3 อันดับแรกที่จริงจังอย่างมากกับการให้ข้อมูลคือ ประเทศโปรตุเกส ประเทศสเปน และ ประเทศบราซิล ตามลำดับ

จากภาพแสดงถึงช่วงวัยที่มีความกังวลในข้อมูลส่วนตัวมากที่สุดคือ ช่วงวัย 55-64 ปี เพศชายและเพศหญิง ซึ่งมีความกังวลสูงกว่าช่วงวัยอื่นๆ อาจเป็นเพราะว่าช่วงอายุที่มากขึ้นจึงทำให้เกิดความไม่เข้าใจในเทคโนโลยีและโลกออนไลน์มากนักและยังเป็นช่วงอายุที่ต้องการความมั่นใจและปลอดภัยมากที่สุดจึงเกิดความกังวลมากกว่าช่วงวัยอื่นๆ

การใช้งาน Social Media

จากภาพแสดงถึงผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียที่มีอยู่ทั้งหมด โดยมีจำนวนมากถึง 4.33 พันล้านคน คิดเป็น 55.1% จากประชากรทั่วโลก และเมื่อเปรียบเทียบรายปีพบว่ามีอัตราเพิ่มขึ้นถึง 13.7% หรือประมาณ 521 ล้านคน โดยอุปกรณ์ที่ใช้เข้าถึงคือโทรศัพท์มือถือคิดเป็น 99.0% ซึ่งยังพบอีกว่าเวลาที่ใช้ในการเข้าโซเชียลมีเดียต่อวันเฉลี่ยอยู่ที่ 2 ชั่วโมง 22 นาที

จากภาพแสดงถึงอัตราการใช้งานโซเชียลมีเดียวทั่วโลกโดยเมื่อเปรียบเทียบจะเห็นว่ามีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

จากภาพแสดงถึงเหตุผลในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ เพราะในทุกการใช้งานไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์หรือโซเชียลมีเดียทุกคนก็ต่างมีเหตุผลที่หลากหลายในการใช้งาน แต่มีเหตุผลสำคัญหนึ่งข้อที่เป็นเหตุผลหลักในการเลือกใช้งานโซเชียลมีเดียของคนทั่วโลกเลยก็ว่าได้ นั่นคือ การใช้เพื่อติดต่อสื่อสารกับเพื่อนหรือครอบครัว ซึ่งนี่คงเป็นเหตุผลหลักๆที่คนเลือกใช้โซเชียลมีเดียมากขึ้น

จากภาพแสดงถึงพฤติกรรมของผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียที่มากที่สุดคือการส่งข้อความต่างๆบนSocial Network คิดเป็น 98.9% การเข้าใช้งานโซเชียลแพลตฟอร์มมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 6.3 การใช้งานโซเชียลเพื่อค้นหาเนื้อหาที่สร้างความบันเทิง การติดตามหรือค้นหาแบรนด์ที่สนใจ และการใช้เพื่อการทำงานตามลำดับ

จากภาพแสดงถึงแพลตฟอร์มที่คนทั่วโลกนิยมใช้งานกันสูงสุดอันดับหนึ่งได้แก่ Facebook นั่นเองซึ่งก็มีถึง 2,797 ล้านคน ซึ่งทุกคนทั่วโลกคงรู้จักเป็นอย่างดี

จากภาพแสดงถึงตารางแสดงการใช้แพลตฟอร์มต่างๆของผู้ใช้บริการที่มีความเกี่ยวข้องกัน ซึ่งแน่นอนว่าคงไม่มีใครใช้งานแพลตฟอร์มเดียวไปตลอดซึ่งแพลตฟอร์มที่มีความเกี่ยวข้องกันมากที่สุดมีอยู่ 3 แพลตฟอร์ม คือ Facebook Youtube และ Instagram

จากภาพแสดงถึงแพลตฟอร์มที่ผู้บริโภคชื่นชอบมากที่สุด แม้ว่า Facebook จะมีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมากแต่จากการสำรวจผู้บริโภคแล้วพบว่าแพลตฟอร์มที่ผู้บริโภคชื่นชอบมากที่สุดคือ Whatsapp ส่วน Facebook นั้นตกอยู่ในอันดับที่สองซึ่งก็ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเพราะอะไร Facebook ยังไม่ได้ครองใจผู้ใช้งานเป็นอันดับที่หนึ่ง

จากภาพแสดงถึงความชื่นชอบในแต่ละแพลตฟอร์มมีความแตกต่างกันออกไปซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละช่วงวัยและเพศด้วย ซึ่งในเพศหญิง และเพศชาย อายุ 16-24 ปีมีความชื่นชอบใน Instagram มากเหมือนกัน ต่อมาช่วงอายุ 25-34 ปี เพศหญิงยังคงชื่นชอบ Instagram แต่เพศชายกลับมีความชื่นชอบ Facebook มากกว่า และในช่วงอายุอื่นๆนั้นมีความชื่นชอบใน Whatsapp มากที่สุดไม่ว่าจะเพศใดก็ตาม

จากภาพแสดงถึงการใช้งานสื่อต่างๆบนโลกออนไลน์โดยบัญชีหลักที่มีความสำคัญที่ผู้ใช้งานสนใจคือ การติดตามเพื่อน ครอบครัว หรือคนอื่นๆที่เรารู้จัก ซึ่งอาจเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ผู้ใช้งานทั่วโลกใช้สื่อออนไลน์ เพื่อไว้ติดต่อเขาเหล่านั้น

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับประเทศที่มีการติดตามผู้ที่มีอิทธิพลหรือคนดังบนโลกออนไลน์ ซึ่ง 3 อันดับแรกที่มีการติดตามคนดังเหล่านั้นมากที่สุดคือ ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศบราซิล และประเทศเคนยา ตามลำดับซึ่งประเทศไทยอยู่ในอันดับท้ายจากทั้งหมด ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยจากทั่วโลกอย่างมาก

จากภาพแสดงถึงกลุ่มคนช่วงอายุ 16-24 ปี เพศหญิงที่ให้ความสนใจและความสำคัญกับการติดตามผู้มีอิทธิพลบนโซเชียลและผู้เชี่ยวชาญมากที่สุดจากทั้งหมด

จากภาพแสดงถึงจำนวนของผู้ที่ใช้สื่อโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มต่างๆเพื่อค้นหาข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับแบรนด์ที่สนใจ โดยแบ่งได้ดังนี้ แพลตฟอร์มประเภทใดก็ได้คิดเป็น 72.1% สังคมออนไลน์ 44.7% เว็บไซต์ตอบคำถาม 20.8% กระดานข้อความเพื่อโต้ตอบ 16.7% บริการส่งข้อความและการแชทสด 16.1% ไมโครบล็อก เช่น ทวิตเตอร์ 15.2% VLOGS 13.8% และสุดท้ายคือ pinboards ออนไลน์ เช่น Pinterest เป็นต้น

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับประเทศที่มีการใช้โซเชียลมีเดียในการค้นหาข้อมูลของแบรนด์ โดย 3 อันดับที่มากที่สุดคือ ประเทศไนจีเรีย ประเทศกานา และ ประเทศเคนยา ตามลำดับ ซึ่งประเทศไทยอยู่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั่วโลกซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดี

จากภาพแสดงถึงกลุ่มคนช่วงอายุ 16-24 ปี เพศหญิงมักใช้โซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มในการค้นหาข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับแบรนด์

Facebook แพลตฟอร์มแห่งการเชื่อมต่อคุณและคนที่คุณรู้จัก

จากภาพแสดงถึงภาพรวมของผู้ชมโฆษณาผ่านช่องทาง Facebook โดยมีจำนวนบัญชีผู้ใช้งานที่โฆษณาของ Facebook สามารถเข้าถึงได้จำนวน 2.21 พันล้านบัญชี ซึ่งจำนวนของผู้ชมที่นำมาเปรียบเทียบกับผู้ใช้งานอายุ 13 ปีขึ้นไป คิดเป็น 36.2% ซึ่งเมื่อมีการเปรียบเทียบแบบไตรมาสต่อไตรมาสจะเห็นได้ว่ามีอัตราการเข้าถึงโฆษณาเพิ่มมากขึ้นคิดเป็น 1.2% หรือ 27 ล้านคน โดยแบ่งออกเป็นเพศชายและเพศหญิง โดยคิดเป็นเพศชาย 56.3% และเพศหญิงคิดเป็น 43.7%

จากภาพแสดงถึงการเปรียบเทียบระหว่างผู้ใช้ที่ใช้งาน Facebook ในการติดตามเรื่องอื่นๆ กับ ผู้ใช้งานที่ชมโฆษณาตลอดเวลาจะเห็นได้ว่าในแต่ละไตรมาสมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

จากภาพแสดงถึงกลุ่มผู้รับชมโฆษณาหลักของ Facebook ได้แก่ช่วงอายุ 25-34 ปี เพศชาย ต่อมาคือช่วงอายุ 18-24 ปี เพศชาย และอันดับ 3 คือช่วงอายุ 25-34 ปี เพศหญิง

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับการโฆษณาใน Facebook ของประเทศต่างๆซึ่ง 3 อันดับแรกเป็นประเทศที่มีการเข้าถึงการโฆษณามากที่สุด คือ ประเทศอินเดีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศอินโนนีเซีย ตามลำดับ

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับของผู้ชมที่มีสิทธิ์ในการเข้าถึงของ Facebook โดย 3 อันดับที่มีประชากรเข้าถึงได้มากที่สุดคือ ประเทศมองโกเลีย ประเทศลิเบีย และประเทศฟิลิปปินส์ ตามลำดับ

จากภาพแสดงถึงการเข้าถึง Facebook โดยใช้อุปกรณ์ที่หลากหลายและแตกต่างกัน ซึ่งสามารถคิดอัตราร้อยละออกมาได้ดังนี้ การเข้าถึง Facebook บนอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือทุกประเภท คิดเป็น 98.4% และการเข้าถึงผ่านคอมพิวเตอร์หรือแล็ปท็อป 1.6% และในการเข้าถึงผ่านทั้งทางโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์คิดเป็น 17.4% และที่เหลืออีก 81.0% เป็นการเข้าถึงผ่านโทรศัพท์มือถือเท่านั้น

จากภาพแสดงถึงระบบปฏิบัติการที่ถูกใช้เพื่อเข้าถึง Facebook โดยแบ่งออกเป็นดังนี้ การใช้แอปพลิเคชั่นหรืออุปกรณ์ของระบบแอนด์ดรอย คิดเป็น 81.4% การใช้แอปพลิเคชั่นหรืออุปกรณ์ของระบบIOS คิดเป็น 14.7% และการเข้าถึงผ่านการเข้าจากเว็บไซต์ หรือเว็บเบราว์เซอร์คิดเป็น 3.9%

จากภาพแสดงถึงอัตราความถี่ในการใช้งาน Facebook และกิจกรรมที่ผู้ใช้งานมักจะทำโดยแบ่งออกเป็น 5 รูปแบบคือ จำนวนหน้าของ Facebook ที่ชื่นชอบ โพสต์ที่ชื่นชอบในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ความคิดเห็นที่เกิดขึ้นในช่วง 30 วันที่ผ่านมา การแชร์โพสต์ของ Facebook ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา และ โฆษณาที่คลิกบน Facebook ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา

จากภาพแสดงถึงกลุ่มช่วงอายุ 35-44 ปี เพศหญิงเป็นช่วงอายุที่มีการกดถูกใจโพสต์ใน Facebook มากที่สุดรองลงมาคือ ช่วงอายุ 45-54 ปีเพศหญิง

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับกลุ่มประเทศที่มีการกดถูกใจโพสต์ใน Facebook มากที่สุด โดย 3 อันดับแรกดังนี้ ประเทศกรีซ ประเทศโรมาเนีย และประเทศออสเตรเลียตามลำดับ

จากภาพแสดงถึงกลุ่มช่วงอายุ 45-54 ปี และ 55-64 ปี เพศหญิงเป็นช่วงวัยที่มักจะแสดงความคิดเห็นบน Facebook อยู่บ่อยครั้ง

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับตามภูมิศาสตร์เกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นผ่าน Facebook โดย 3 อันดับแรกที่มีประชากรชอบแสดงความคิดเห็นมากที่สุดคือ ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศอียิปต์ และประเทศออสเตรเลีย

จากภาพแสดงถึงกลุ่มช่วงอายุ 45-54 ปี และ 55-64 ปี เพศหญิงที่มักมีการคลิกโฆษณาที่ปรากฏบน Facebook เป็นอันดับต้นๆ ซึ่งอาจจะเกิดจากความไม่รู้ว่าเป็นการโฆษณา หรืออาจจะเป็นโฆษณาที่ตรงกับความสนใจจึงคลิกเข้าไปดูอยู่บ่อยครั้ง

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับตามภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการคลิกโฆษณาบน Facebook โดยสามารถเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ประเทศอิสราเอล ประเทศเดนมาร์ก และ ประเทศออสเตรเลีย

จากภาพแสดงถึงอัตราการโพสต์บน Facebook และประเภทของโพสต์ โดยค่าเฉลี่ยของโพสต์ที่ถูกอัพโหลดในแต่ละวัน คิดเป็น 2.32 ซึ่งประเภทของโพสต์ก็มีตั้งแต่ รูปภาพ วิดีโอ LINKเข้าสู่เว็บต่างๆ และสุดท้ายคือการอัพเดทสถานะใน Facebook

จากภาพแสดงถึงการมีส่วนร่วมและการเข้าถึงใน Facebook Page ที่ถูกแบ่งออกตามแต่ละรูปแบบของโพสต์ ซึ่งผลแสดงออกมาว่า ค่าเฉลี่ยโดยรวมของการเข้าถึงโพสต์ทุกประเภทคือ 0.10% และเมื่อแยกออกมาเป็นแต่ละประเภทจะเห็นได้ว่า การโพสต์สถานะหรือสเตตัสใน Facebook และการโพสต์รูปภาพ ทำให้คนมีส่วนร่วมและเข้าถึงได้มากที่สุดจากทุกประเภท

จากภาพแสดงถึงข้อมูลเกี่ยวกับ Facebook Page ซึ่งการเข้าถึงเพจจากผู้ใช้งานนั้นจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของเพจด้วย เริ่มจากการมีผู้ติดตามน้อยกว่า 10,000 คน จะมีผู้ที่สามารถเข้าถึงได้ 0.39% ซึ่งสังเกตได้ว่ายิ่ง Facebook Page ที่ผู้ติดตามหรือสนใจมากขึ้น ไม่ได้แปลว่าการมีส่วนร่วมจะเพิ่มมากยิ่งขึ้น แต่ตรงกันข้ามยิ่งผู้ติดตามเยอะ Facebook Page กลับลดการมีส่วนร่วมของเพจนั้นๆลง

Youtube แพลตฟอร์มที่ใช้เพื่อการฟังเพลงหรือสร้างความบันเทิงให้กับทั่วโลก

จากภาพแสดงถึงภาพรวมของแพลตฟอร์ม Youtube ในช่วงที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ามีผู้ใช้งานที่สามารถเข้าถึง Youtube ได้เป็นจำนวน 2.29 พันล้านบัญชี และส่วนใหญ่ผู้ใช้งานมักจะเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิงอีกด้วย

จากภาพแสดงถึงกลุ่มผู้ใช้งานโดยส่วนใหญ่เรามักใช้ Youtube ในการสร้างความบันเทิงในเนื้อหาต่างๆ ซึ่งกลุ่มผู้ใช้งานที่รับชมวิดีโอโฆษณาของ Youtube มากที่สุดคือกลุ่มช่วงอายุ 25-34 ปี เพศชาย

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับประเทศที่มีประชากรที่สามารถเข้าถึงโฆษณาของ Youtube ได้มากที่สุด โดย 3 อันดับแรกคือ ประเทศอินเดีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศบราซิลตามลำดับ ซึ่งประเทศไทยของเราก็ถูกจัดอยู่ลำดับที่ 18 แม้ว่าจะเป็นอันดับที่ไม่ได้สูงมากนักแต่ก็ยังพอมีหวังให้คนทำธุรกิจประเภทนี้ในไทยมีโอกาสก้าวหน้ามากขึ้น

Instagram คือแพลต์ฟอร์มที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อมอบความบันเทิงให้เช่นเดียวกันและยังสามารถติดตามความเคลื่อนไหวบุคคลที่เราสนใจผ่านรูปภาพหรือวิดีโอได้อีกด้วย

จากภาพแสดงถึงภาพรวมของการใช้งานและการเข้าถึงโฆษณาของแพลตฟอร์ม Instagram จะเห็นได้ว่า ผู้ใช้งานที่เข้าถึงโฆษณาใน Instagram ก็มีจำนวนมากถึง 1.29 พันล้านบัญชี ซึ่งยังคงมีโอกาสเติบโตอยู่เสมอ และกลุ่มผู้ใช้งานมักจะเป็นกลุ่มเพศหญิงมากกว่าเพศชาย อาจเป็นเพราะว่า Instagram มีไว้เพื่อโพสต์รูปภาพและวิดีโอซึ่งผู้ชายอาจไม่ถนัดสักเท่าไหร่

จากภาพแสดงถึงกลุ่มของผู้ใช้งานที่เข้าถึงโฆษณาของ Instagram ได้มากที่สุด มักจะเป็นกลุ่มช่วงอายุ 25-34 ปี เพศชาย ซึ่งถัดมาก็คือ เพศหญิงในช่วงอายุเดียวกัน และกลุ่มที่กำลังอยู่ในอันดับต้นๆคือ กลุ่มช่วงอายุ 18-24 ปี และไม่แน่ว่าในอนาคตจะมีการเปลี่ยนแปลงช่วงอายุไปเป็นกลุ่มคนในวัยนี้ก็ได้

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับประเทศที่มีประชากรสามารถเข้าถึงการโฆษณาบน Instagram ได้มากที่สุด ซึ่ง 3 อันดับแรกคือ ประเทศอินเดีย ประเทศาหรัฐอเมริกา และประเทศบราซิลตามลำดับ ซึ่งประเทศไทยก็ถูกจัดอยู่ลำดับที่ 15 ซึ่งก็ยังถือว่าผู้ทำธุรกิจผ่านช่องทาง Instagram ในประเทศไทยยังพอมีหวังอยู่บ้าง

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับประเทศที่มีประชากรที่มีสิทธิ์เข้าถึงโฆษณาของ Instagram มากที่สุดโดย 3 อันดับแรกคือ ประเทศคาซัคสถาน ที่ยังคงครองที่หนึ่งอยู่เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ต่อมาคือ ประเทศไอซ์แลนด์ และประเทศสวีเดนตามลำดับ

จากภาพแสดงถึงข้อมูลสำหรับการทำธุรกิจบน Instagram ซึ่งจะเห็นได้ว่าการเติบโตของบัญชีธุรกิจใน Instagram ค่าเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 1.71% และส่วนใหญ่ประเภทของการโพสต์ที่มีมากที่สุดคือรูปภาพซึ่งคิดเป็น 64.4% จากทุกรูปแบบ

จากภาพแสดงถึงการโพสต์ใน Instagram ซึ่งประเภทของโพสต์ที่มีการเข้าถึงมากที่สุดคือการโพสต์แบบหลายๆภาพในโพสต์เดียว

จากภาพแสดงถึงข้อมูลการเข้าถึงและมีส่วนร่วมที่ถูกวัดด้วยจำนวนผู้ติดตามที่ต่างกันจะเห็นได้ชัดว่ายิ่งผู้ติดตามน้อยกว่า 10,000 ก็ยิ่งได้รับการมีส่วนร่วมมมากขึ้น และเมื่อผู้ติดตามสูงขึ้นก็อาจเป็นผลให้การมีส่วนร่วมของผู้ติดตามลดน้อยลง

แพลตฟอร์มใหม่ที่กำลังเป็นที่นิยมในตอนนี้พอๆกับ Facebook คือ Facebook Messenger ซึ่งข้อดีของมันคือเราสามารถพูดคุยติดต่อกันได้ไม่ว่าเราจะไกลกันแค่ไหนเพียงแค่เชื่อมต่อกันบน Facebook

จากภาพแสดงถึงภาพรวมที่แสดงถึงผู้ชมโฆษณาบน Facebook Messenger จะเห็นได้ว่ามีผู้ใช้งานจำนวน 1.01 พันล้านคน แต่ผลจากไตรมาสก่อนๆกลับแสดงให้เห็นว่ามีการใช้งานและเข้าถึงลดน้อยลงจากเดิม ซึ่งนี่คือสิ่งที่ Facebook Messenger ต้องหาทางพัฒนา และกลุ่มผู้ใช้งานมักจะเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง

จากภาพแสดงถึงกลุ่มของผู้ใช้งานหลักที่รับชมโฆษณาของ Facebook Messenger ซึ่งมักเป็นกลุ่มช่วงอายุ 25-34 ปี เพศชาย ซึ่งมีความแตกต่างจากช่วงอายุและเพศอื่นๆไปมากเลยทีเดียว

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับการเข้าถึงโฆษณาของ Facebook Messenger โดย 3 อันดับแรกได้แก่ ประเทศอินเดีย ประเทศบราซิล และประเทศเม็กซิโก ถึงแม้ว่าจะอยู่ใน 3 อันดับแรกแต่ทั้ง 3 ประเทศในช่วงไตรมาสที่ผ่านมาก็มีอัตราการเข้าถึงที่ลดลงมากอยู่เหมือนกัน

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับประเทศที่ประชากรที่มีสิทธิ์เข้าถึง Facebook Messenger มากที่สุด โดย 3 อันดับแรกได้แก่ ประเทศมองโกเลีย ประเทศมอลตา และประเทศไอซ์แลนด์ตามลำดับ

Linkedin เป็นแพลตฟอร์มที่เหมาะกับการหางานหรือการฝึกงานเพราะเป็นการเชื่อมต่อกับบุคคลอื่นๆอย่างมืออาชีพ และใช้งานเพื่อสร้างทักษะเพิ่มเติมให้แก่ผู้ใช้งาน

จากภาพแสดงถึงภาพรวมของการโฆษณาใน Linkedin พบว่ามีผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงโฆษณาของ Linkedin ได้จำนวน 745.6 ล้านคน ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนไม่น้อย และจากไตรมาสที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่า Linkedin มีการเติบโตขึ้น และกลุ่มผู้ใช้มักเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง

จากภาพแสดงถึงกลุ่มของผู้ใช้งานที่เข้าถึงโฆษณาของ Linkedin มักเป็นกลุ่มช่วงอายุ 25-34 ปี เพศชาย รองลงมาคือเพศหญิงในช่วงอายุเดียวกัน ซึ่งอาจเป็นเพราะว่าเป็นช่วงวัยที่กำลังมองหาประสบการณ์และความรู้ใหม่ๆพร้อมทั้งทักษะเสริมอื่นๆ จึงทำให้กลุ่มคนช่วงอายุนี้สนใจกว่าช่วงอื่นๆ

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับของการเข้าถึง Linkedin จากประเทศทั่วโลก โดย 3 อันดับแรกคือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศอินเดีย และประเทศจีน ตามลำดับ ซึ่งประเทศอินเดียมีอัตราที่จะเติบโตขึ้นเมื่อดูจากไตรมาสที่ผ่านมา

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับของผู้ใช้งานที่มีสิทธิ์เข้าถึงโฆษณาของ Linkedin ได้ โดย 3 อันดับแรกคือ ประเทศอเมริกันซามัว เบอร์มิวดา และประเทศไอซ์แลนด์ตามลำดับ

Snapchat เป็นแพลตฟอร์มในการสนทนาแบบวิดีโอซึ่งความพิเศษคือเราสามารถเลือกแต่งธีมหรือว่าฟิลเตอร์ต่างๆได้ในการวิดีโอแชท

จากภาพแสดงถึงภาพรวมของกลุ่มผู้ชมโฆษณาบน Snapchat จะเห็นได้ว่าแพลตฟอร์มนี้ก็ได้รับความนิยมเช่นกัน ซึ่งดูได้จากการเข้าถึงโฆษณาที่สูงถึง 528.2 ล้านคน และถ้าเปรียบเทียบจากไตรมาสที่ผ่านมาจะเห็นว่ามีโอกาสในการเติบโตอยู่เรื่อยๆ และกลุ่มที่นิยมใช้งานและเข้าถึงมากที่สุดคือเพศหญิงมากกว่าเพศชาย

จากภาพแสดงถึงกลุ่มช่วงอายุที่เป็นผู้เข้าถึงโฆษณาที่สำคัญของ Snapchat คือกลุ่มช่วงอายุ 13-17 ปีเพศหญิง และจะเห็นได้ว่าในทุกช่วงอายุเพศหญิงมีการเข้าถึงมากกว่าเพศชาย อาจเป็นเพราะว่าแพลตฟอร์มนี้ถูกสร้างมาเพื่อเด็กและผู้หญิงโดยเฉพาะ เพราะซ่อนความน่ารักและฟิลเตอร์ต่างๆไว้ภายในแอพนี้

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับการเข้าถึงโฆษณาของ Snapchat จากทั่วโลก โดย 3 อันดับแรกคือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศอินเดีย และประเทศฝรั่งเศส ซึ่งในแต่ละประเทศก็มีอัตราที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับประเทศที่มีผู้ใช้งานที่มีสิทธิ์เข้าถึง Snapchat โดยเรียง 3 อันดับสูงสุดได้ดังนี้ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ประเทศนอร์เวย์ และประเทศลักเซมเบิร์กเป็นต้น

Twitter เป็นแพลตฟอร์มที่กำลังเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เป็นแพลตฟอร์มที่คนสามารถแสดงความคิดเห็นต่างๆได้ รวมถึงการติดตามข่าวสารต่างๆ

จากภาพแสดงถึงภาพรวมของการเข้าชมโฆษณาผ่าน Twitter ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีผู้เข้าถึงจำนวน 395.9 ล้านบัญชีซึ่งถ้าเทียบกับแพลตฟอร์มอื่นก็ยังถือว่าไม่มากเท่าที่ควร แต่อย่างไรก็ตาม Twitter ยังมีอัตราการเติบโตและเพิ่มขึ้น ซึ่งกลุ่มคนที่ชมโฆษณามักเป็นกลุ่มคนเพศชายมากกว่าเพศหญิง

จากภาพแสดงถึงกลุ่มหลักที่เรียกว่าเป็นผู้เข้าชมโฆษณาของ Twitter มากที่สุดคือ กลุ่มคนช่วงอายุ 25-34 ปีเพศชาย ซึ่งเป็นกลุ่มและเพศที่โดดเด่นจากกลุ่มช่วงวัยอื่นๆมากเลยทีเดียว

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับประเทศที่มีการเข้าถึงโฆษณาบนแพลตฟอร์ม Twitter โดย 3 อันดับสูงสุดเรียงดังนี้ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศญี่ปุ่น และประเทศอินเดีย ซึ่งบนแพลตฟอร์มนี้ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 13 จากทั่วโลก และมีโอกาสเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และไม่แน่ว่าในอนาคตอาจมีโอกาสขึ้นไปถึงอันดับต้นได้

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับประเทศหรือผู้ชมโฆษณาที่มีสิทธิ์เข้าถึง Twitter มากที่สุดตามลำดับดังนี้ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศซาอุดิอาระเบีย และประเทศเปอร์โตริโก เป็นต้น ซึ่งประเทศอันดับ 3 อย่างเปอร์โตริโกก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มสิทธิ์ในการเข้าถึงอยู่สม่ำเสมอ

Pinterest เป็นแพลตฟอร์มสำหรับการค้นหารูปภาพที่สนใจทั้งยังสามารถเผยแพร่รูปภาพที่โดดเด่นของตนเองได้อีกด้วย ทุกคนจะทราบกันดีว่า Pinterest มีไว้เพื่อหาแรงบันใจที่ถูกส่งออกมาในรูปแบบของรูปภาพเป็นต้น

จากภาพแสดงถึงการรายงานภาพรวมของผู้ชมโฆษณาบนแพลตฟอร์ม Pinterest ซึ่งมีผู้เข้าถึงโฆษณาใน Pinterest ได้มากกว่า 218.9 ล้านคน และในไตรมาสที่ผ่านมายังมีอัตราเพิ่มขึ้นอีกด้วยซึ่งเป็นที่น่าพึงพอใจของเจ้าของแพลตฟอร์ม และกลุ่มผู้ใช้งานหลักคือเพศหญิงมากกว่าเพศชาย

จากภาพแสดงถึงกลุ่มผู้ใช้งานที่เข้าชมโฆษณาของ Pinterest มากที่สุดคือ กลุ่มช่วงอายุ 25-34 ปี เพศหญิง ซึ่งมีอัตราร้อยละที่สูงกว่าเพศอื่นและช่วงวัยอื่นๆมาก

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับประเทศที่ประชากรเข้าถึงโฆษณาของ Pinterest ได้มากที่สุด โดย 3 อันดับแรกได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศบราซิล และประเทศเยอรมัน

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับประเทศของผู้ชมโฆษณาที่มีสิทธิ์เข้าถึง Pinterest มากที่สุดตามลำดับดังนี้ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศแคนาดา เป็นต้น แต่ก็เป็นที่น่าแปลกใจเพราะว่าการเปลี่ยนแปลงในไตรมาสที่ผ่านมากลับพบการเข้าถึงที่ลดลง

แพลตฟอร์มของโซเชียลในรูปแบบอื่นๆ

จากภาพแสดงถึงการรายงานภาพรวมของการเปิดใช้งานแพลตฟอร์ม Whatsapp ในเดือนที่ผ่านมาพบว่ามีผู้ใช้งาน Whatsapp ประมาณ 2 พันล้านคนจากทั่วโลกซึ่งถ้าคิดจากกลุ่มคนที่มีอายุ 13 ปีขึ้นไปคิดเป็น 33% และผลจากทั่วโลกพบว่ามีบัญชี Whatsapp Business ราวๆ 50 ล้านบัญชีและส่วนใหญ่ผู้ใช้งานมักเป็นกลุ่มเพศชายมากกว่าเพศหญิง

จากภาพแสดงถึงการรายงานภาพรวมของการเปิดใช้งานแพลตฟอร์ม WEChat โดยได้ข้อมูลว่ามีการใช้งาน WEChat ประมาณ 1.23 พันล้านคนจากทั่วโลกซึ่งถ้าคิดจากกลุ่มคนที่มีอายุ 13 ปีขึ้นไปคิดเป็น 20.0%และจากไตรมาสที่ผ่านมาทำให้พบว่ามีจำนวนของผู้ใช้งานเพิ่มมากขึ้น และส่วนใหญ่ผู้ใช้งานจะเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง

จากภาพแสดงถึงการรายงานภาพรวมของการเปิดใช้งานแพลตฟอร์ม Tiktok โดยได้ข้อมูลว่ามีการใช้งาน Tiktok ประมาณ 732 ล้านคนจากทั่วโลกซึ่งถ้าคิดจากกลุ่มคนที่มีอายุ 13 ปีขึ้นไปคิดเป็น 12.0% และจากช่วงเดือนที่ผ่านมาทำให้พบว่ามีจำนวนของผู้ใช้งานที่ติดตั้ง Tiktok จากทั่วโลกประมาณ 58 ล้านคน และส่วนใหญ่ผู้ใช้งานจะเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย

จากภาพแสดงถึงการรายงานภาพรวมของการเปิดใช้งานแพลตฟอร์ม QQ โดยได้ข้อมูลว่ามีการใช้งาน QQ ประมาณ 549.9 ล้านคนจากทั่วโลกซึ่งถ้าคิดจากกลุ่มคนที่มีอายุ 13 ปีขึ้นไปคิดเป็น 9.7%และจากไตรมาสที่ผ่านมาทำให้พบว่ามีจำนวนของผู้ใช้งานลดลงซึ่งอาจเกิดจากหลายปัจจัย และส่วนใหญ่ผู้ใช้งานจะเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง

จากภาพแสดงถึงการรายงานภาพรวมของการเปิดใช้งานแพลตฟอร์ม Telegram โดยได้ข้อมูลว่ามีการใช้งาน Telegram ประมาณ 550 ล้านคนจากทั่วโลกซึ่งถ้าคิดจากกลุ่มคนที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไปคิดเป็น 9.6%และจากไตรมาสที่ผ่านมาทำให้พบว่ามีจำนวนของผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นจากเดิม และส่วนใหญ่ผู้ใช้งานจะเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง

จากภาพแสดงถึงการรายงานภาพรวมของการเปิดใช้งานแพลตฟอร์ม Sina Weibo โดยได้ข้อมูลว่ามีการใช้งาน Sina Weibo ประมาณ 521 ล้านคนจากทั่วโลกซึ่งถ้าคิดจากกลุ่มคนที่มีอายุ 14 ปีขึ้นไปคิดเป็น 8.5%และจากไตรมาสที่ผ่านมาทำให้พบว่ามีจำนวนของผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นจากเดิม และส่วนใหญ่ผู้ใช้งานจะเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง

จากภาพแสดงถึงการรายงานภาพรวมของการเปิดใช้งานแพลตฟอร์ม Reddit โดยได้ข้อมูลว่ามีการใช้งาน Reddit ประมาณ 430 ล้านคนจากทั่วโลกซึ่งถ้าคิดจากกลุ่มคนที่มีอายุ 13 ปีขึ้นไปคิดเป็น 7.0% และส่วนใหญ่ผู้ใช้งานจะเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง

จากภาพแสดงถึงการรายงานภาพรวมของการเปิดใช้งานแพลตฟอร์ม Quora โดยได้ข้อมูลว่ามีการใช้งาน Quora ประมาณ 300 ล้านคนจากทั่วโลกซึ่งถ้าคิดจากกลุ่มคนที่มีอายุ 13 ปีขึ้นไปคิดเป็น 4.9% โดยค่าเฉลี่ยของการใช้งานเว็บไซต์นี้อยู่ที่ 9 ชั่วโมง 17 นาที และส่วนใหญ่ผู้ใช้งานจะเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง

การใช้งานผ่านอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ

จากภาพแสดงถึงข้อมูลการใช้งานจากทั่วโลกโดยเชื่อมต่อผ่านเซลลูลาร์ ซึ่งจำนวนของผู้ใช้งานเฉพาะบนโทรศัพท์มือถือมีราว 5.27 พันล้านคน โดยคิดเป็น 67.1%จากประชากรทั้งหมด และมีการสมัครสมาชิกเพิ่มขึ้น ซึ่งจากทั่วโลกมีการเชื่อมต่อข้อมูลเซลลูลาร์ทั้งหมด 10.88 พันล้านคน

จากภาพแสดงถึงการเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างการสมัครสมาชิกผ่านโทรศัพท์มือถือกับการเชื่อมต่อผ่านเซลลูลาร์

จากภาพแสดงถึงข้อมูลของการเชื่อมต่อผ่านเซลลูลาร์บนอุปกรณ์ต่างๆที่แตกต่างกันไปจากทั่วโลกโดยข้อมูลที่ได้คือ การเชื่อมต่อที่ใช้ผ่านอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือสูงถึง 76.3% ถัดมาคือโทรศัพท์มือถือปุ่มกด และผ่านกล่องรับสัญญาณ

จากภาพแสดงถึงการพัฒนาการของการเคลื่อนที่ของข้อมูลเครือข่ายจากทั่วโลก

จากภาพแสดงถึงการเริ่มต้นแบ่งสัดส่วนในการแบ่งปันข้อมูลโดยแบ่งออกตามประเภทของโทรศัพท์มือถือ โดยอันดับหนึ่งคือ อุปกรณ์ของแอนด์ดรอย อุปกรณ์ของแอปเปิ้ล อุปกรณ์ของซัมซุง อุปกรณ์อื่นๆ และ อุปกรณ์ของKAI OS ตามลำดับ

จากภาพแสดงถึงแนวโน้มของการดาวน์โหลดจากทั่วโลกพบว่า มีการดาวน์โหลดประมาณ 31 พันล้านครั้งและมีอัตราเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

จากภาพแสดงถึงแนวโน้มของการดาวน์โหลดจากทั่วโลกพบว่า มีการดาวน์โหลดประมาณ 36.7 พันล้านครั้งและมีอัตราเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับของแอปพลิเคชันจากทั่วโลกที่ยังคงมีผู้ใช้งานอย่างต่อเนื่องโดย 4 แพลตฟอร์มแรกคือ Facebook Whatsapp Facebook Messenger และ Instagram ซึ่งทั้ง 4 แพลตฟอร์มล้วนแล้วแต่เป็นเครือข่ายในบริษัทเดียวกันนั่นก็คือ Facebook นั่นเอง

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับของแอปพลิเคชันจากทั่วโลกที่มีผู้ดาวน์โหลดสูงสุดโดย 3 แพลตฟอร์มแรกคือ Tiktok Facebook และ Instagram ซึ่งทั้ง 3 แพลตฟอร์มนี้ทุกคนก็คงเคยได้ทดลองใช้และมีความชื่นชอบอยู่บ้างแล้ว

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับของแอปพลิเคชันจากทั่วโลกที่มีผู้ใช้จ่ายมากที่สุดโดย 3 แพลตฟอร์มแรกคือ Youtube Tiktok และ Tindet ซึ่งทั้ง 3 แพลตฟอร์มนี้ถ้ามีการสมัครสมาชิกหรือใช้จ่ายเกี่ยวกับแอปพลิเคชันจะได้รับสิทธิพิเศษมากมายเลยทีเดียว

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับของแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือยอดนิยมจากทั่วโลกโดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ มีการใช้งานสูงสุดในเดือนที่ผ่านมา อันดับสูงสุดได้แก่ Signal Private Messenger ในส่วนต่อมาคือการดาวน์โหลดยอดนิยม อันดับสูงสุดได้แก่ MX Takatak และส่วนสุดท้ายคือผู้บริโภคใช้จ่ายสูงสุดได้แก่ Youtube

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับของเกมส์บนโทรศัพท์มือถือยอดนิยมจากทั่วโลกโดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ มีการใช้งานสูงสุดในเดือนที่ผ่านมา อันดับสูงสุดได้แก่ Project Makeover ในส่วนต่อมาคือการดาวน์โหลดยอดนิยม อันดับสูงสุดได้แก่ Phone Case DIY และส่วนสุดท้ายคือผู้บริโภคใช้จ่ายสูงสุดได้แก่ UMA Musume Pretty Derby

การใช้เพื่อการทำธุรกรรมหรือการแลกเปลี่ยนผ่านช่องทางออนไลน์

จากภาพแสดงถึงภาพรวมและการเคลื่อนไหวของการทำธุรกรรมออนไลน์ โดยพบว่าในช่วงที่ผ่านมามีการค้นหาสินค้าหรือบริการเพื่อซื้อสูงถึง 81.8% และเลือกซื้อสินค้าต่างๆผ่านช่องทางออนไลน์คิดเป็น 92.2% เลยทีเดียว มีการสั่งซื้อที่สำเร็จผ่านช่องทางออนไลน์สูงถึง 78.6% ทำให้เห็นว่าการตัดสินใจซื้อผ่านช่องทางออนไลน์นั้นก็เป็นสิ่งที่ผู้บริโภคเริ่มหันมาให้ความสนใจมากขึ้น

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับประเทศที่นำรูปแบบ Ecommerce มาใช้ภายในประเทศอันดับสูงสุดเป็นของประเทศอินโดนีเซีย โดยประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 4 ซึ่งถือว่าค่าเฉลี่ยสูงกว่าของทั่วโลกมาก

จากภาพแสดงถึงกลุ่มช่วงอายุที่นำรูปแบบ Ecommerce มาใช้มากที่สุดคือ 25-34 ปี เพศหญิงมากกว่าเพศชาย

จากภาพแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของ Ecommerce แบ่งออกเป็นดังนี้ การเข้าเยี่ยมชมเพิ่มขึ้น 17.1% การเข้าชมคุณสมบัติของ Ecommerce เพิ่มขึ้น 12.3% มีการใช้เวลาเพิ่มขึ้น 4.5% การตัดสินใจซื้อเพิ่มขึ้น 21.6%

จากภาพแสดงถึงความเคลื่อนไหวของธุรกิจในรูปแบบ Ecommerce ซึ่งแบ่งตามประเภทของผู้ใช้งานและอุปกรณ์โดยแบ่งได้ดังนี้ ผู้เยี่ยมชมรายใหม่ๆที่เข้าชมอสังหาริมทรัพย์คิดเป็น 44% การกลับมาใช้บริการอีกครั้งคิดเป็น 56% ซึ่งหากแบ่งตามอุปกรณ์ โทรศัพท์มือถือมีอันดับสูงที่สุดในการใช้งาน Ecommerce

จากภาพแสดงถึงความเคลื่อนไหวของธุรกิจในรูปแบบ Ecommerce ซึ่งแบ่งตามประเภทของอุปกรณ์และหมวดหมู่ อันดับที่สูงที่สุดคือ เกี่ยวกับความหรูหรา รองลงมาคือความสวยงาม และเครื่องแต่งกาย

จากภาพแสดงถึงการแสดงความเคลื่อนไหวโดยแบ่งออกได้หลายประเภท ซึ่งการส่งข้อมูลแบบทางตรงมีมากที่สุด ต่อมาคือการค้นหา และอื่นๆ

จากภาพแสดงถึงอัตราเฉลี่ยของผู้เข้าชม Ecommerce ที่ดูเพียงหน้าเดียวโดยแบ่งตามอุปกรณ์ โดยค่าเฉลี่ยทั้งหมดอยู่ที่ 47% อุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ 49% อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 45% และอุปกรณ์แท็บเล็ต 42%

จากภาพแสดงถึงอัตราการเปลี่ยนแปลงค่าเฉลี่ยของผู้ใช้งาน Ecommerce โดยแบ่งตามอุปกรณ์ โดยค่าเฉลี่ยทั้งหมดอยู่ที่ 1.82% อุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ 1.5% อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 2.3% และอุปกรณ์แท็บเล็ต 2.6%

จากภาพแสดงถึงอัตราการเปลี่ยนแปลงค่าเฉลี่ยของผู้ใช้งาน Ecommerce ที่แบ่งตามประเภทได้ 3 อันดับหลักๆดังนี้ ร้านขายของชำ ความสวยงาม และเครื่องแต่งกายตามลำดับ

จากภาพแสดงถึงการขับเคลื่อนโดยช่องทางออนไลน์หากมีความต้องการจะเติบโตจำเป็นต้องมีคุณสมบัติที่โดดเด่น ซึ่งผู้ใช้งานให้ความเห็นว่าพวกเขาจะตัดสินใจและชื่นชอบการซื้อสินค้าของเรา เมื่อเรามีบริการส่งฟรี ซึ่งมีคนเห็นด้วยถึง 52.6% ต่อมาคือเรื่องของส่วนลดที่มีผลต่อการตัดสินใจ

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับการกระจายในเรื่องของ Ecommerce จากทั่วโลกโดย 3 อันดับแรกคือประเทศไนจีเรีย ประเทศเกาหลีใต้ และประเทศจีนตามลำดับ

จากภาพแสดงถึงช่องทางการชำระเงินบน Ecommerce ซึ่งก็ไม่ได้มีน้อยกว่ารูปแบบอื่นแต่อย่างใด แต่รูปแบบที่คนมักนิยมใช้งานมากที่สุดคือกระเป๋าเงินดิจิทัลหรือกระเป๋าเงินของโทรศัพท์มือถือ และอีกช่องทางคือบัตรเครดิตหรือเดบิต

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับการชำระเงินบน Ecommerce ผ่านช่องทางกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกซ์ ซึ่งค่าเฉลี่ยของทั่วโลกอยู่ที่อันดับ 2 และอันดับหนึ่งเป็นของประเทศจีน

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับการชำระเงินบน Ecommerce ผ่านช่องทางบัตรเครดิต ซึ่งประเทศที่อยู่ 3 อันดับแรกได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศเกาหลีใต้ และประเทศแคนาดาตามลำดับ

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับการชำระเงินบน Ecommerce ผ่านช่องทางบัตรเดบิต ซึ่งประเทศที่อยู่ 3 อันดับแรกได้แก่ ประเทศไอร์แลนด์ ประเทศเดนมาร์ก และประเทศเบลเยี่ยมตามลำดับ

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับการชำระเงินบน Ecommerce ผ่านช่องทางการโอนเงินผ่านธนาคาร ซึ่งประเทศที่อยู่ 3 อันดับแรกได้แก่ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ประเทศโปแลนด์ และประเทศฟินแลนด์ตามลำดับ โดยประเทศไทยก็อยู่อันดับที่ 4

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับการชำระเงินบน Ecommerce ผ่านช่องทางการชำระเงินสดปลายทาง ซึ่งประเทศที่อยู่ 3 อันดับแรกได้แก่ ประเทศเวียดนาม ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศไนจีเรียตามลำดับ โดยประเทศไทยก็อยู่อันดับที่ 4

จากภาพแสดงถึงการซื้อเนื้อหาดิจิทัลจากกลุ่มของผู้ใช้งาน โดยสิ่งที่เป็นที่นิยมอันดับหนึ่งเลยคือ บริการสตรีมภาพยนตร์หรือทีวี ตัวอย่างก็เช่น Netflix ที่เราคุ้นเคยกันดี และอันดับที่ต่อมาคือบริการสตรีมเพลง และการดาวน์โหลดเพลง

รูปแบบการทำการตลาดอีกรูปแบบหนึ่งที่เรียกว่าการตลาดดิจิทัล คือการโฆษณา หรือประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการผ่านช่องทางสื่อดิจิทัลซึ่งเป็นสิ่งที่ค่อนข้างเป็นที่นิยมมากเพราะว่าในปัจจุบันผู้บริโภคสามารถเข้าถึงการประชาสัมพันธ์ประเภทนี้ได้ง่ายที่สุด

จากภาพแสดงถึงข้อมูลจากผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ถูกสรุปออกมาว่าเขาพบเห็นการประชาสัมพันธ์หรือการเคลื่อนไหวของแบรนด์จากช่องทางและรูปแบบใดมากที่สุด ซึ่งผลออกมาคือ การใช้เครื่องมือ search engine มากที่สุดรองลงมาคือ โฆษณาบนโทรทัศน์ และการพูดแบบปากต่อปาก เป็นต้น

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับของประเทศที่มีการสืบค้นข้อมูลของแบรนด์ต่างๆก่อนการตัดสินใจซื้อ ซึ่ง 3 อันดับแรกได้แก่ ประเทศบราซิล ประเทศกรีซ และประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งอัตราร้อยละจากทั่วโลกในส่วนนี้ก็ไม่ได้อยู่ในระดับที่สูงมาก และประเทศไทยก็ยังอยู่ในระดับที่ไม่สูงกว่าระดับทั่วโลก นั่นก็หมายความว่าประเทศไทยมักจะเลือกซื้อสินค้าแบบตัดสินใจรวดเร็วหาข้อมูลไม่มากนัก

จากภาพแสดงถึงซึ่งกลุ่มคนที่ใช้เครื่องมือในการค้นหาข้อมูลของแบรนด์เพื่อมาประกอบการตัดสินใจมากที่สุด คือกลุ่มช่วงอายุ 55-64 ปี เพศชายและรองลงมาคือเพศหญิงในช่วงอายุเดียวกัน ซึ่งอาจเป็นเพราะว่าเป็นช่วงวัยที่ต้องการข้อมูลที่มากเพียงพอเพื่อให้การตัดสินใจของตนเองถูกต้องและเกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด

จากภาพแสดงถึงการหาข้อมูลของแบรนด์ที่สามารถทำได้หลายช่องทาง แต่ช่องทางที่ถูกใช้บ่อยและมากที่สุดคือ การใช้เครื่องมือ search engine การเข้าไปดูในช่องทางโซเชียลต่างๆ และการชมรีวิวของคนอื่นๆ ซึ่งหากต้องการซื้อของที่ตรงตามรูปแบบที่ร้านค้าแสดงไว้และตรงกับความต้องการของเรา ก็จำเป็นที่จะต้องหาข้อมูลก่อนเสมอ

จากภาพแสดงถึงการจัดอันดับของประเทศที่ผู้บริโภคมีความรู้สึกว่าพวกเขาได้เป็นส่วนหนึ่งของโฆษณา คือ ประเทศจีน ประเทศอินเดีย และประเทศไทย

จากภาพแสดงถึงช่วงอายุของผู้บริโภคมีความรู้สึกว่าพวกเขาได้เป็นส่วนหนึ่งของโฆษณา คือ กลุ่มช่วงอายุ 25-34 เพศชาย

จากภาพแสดงถึงข้อมูลเกี่ยวกับการได้รับชมโฆษณาแต่ในหลายๆประเทศก็ไม่ชื่นชอบในการโฆษณานั้นๆ ซึ่งการจัดอันดับประเทศที่มีการใช้เครื่องมือบล็อกโฆษณาทางออนไลน์มากที่สุด ได้แก่ ประเทศอินโนนีเซีย ประเทศมาเลเซีย และประเทศไต้หวัน เป็นต้น แน่นอนว่าถ้าจะต้องทำโฆษณาในประเทศเหล่านี้ควรระมัดระวังมากขึ้นเพราะอาจลงทุนโดยได้รับผลตอบแทนอะไรเลย

จากภาพแสดงถึงกลุ่มของผู้ใช้งานที่มีการปิดกั้นโฆษณาทางออนไลน์มากที่สุด ได้แก่ กลุ่มช่วงอายุ 25-34 ปี เพศชาย และรองลงมาคือกลุ่มช่วงอายุ 16-24 เพศชายเช่นกัน

จากภาพแสดงถึงเหตุผลที่ผู้ใช้งานเลือกปิดกั้นโฆษณาเหล่านั้นซึ่ง 3 เหตุผลหลักที่ผู้ใช้งานเลือกที่จะปิดกั้นโฆษณาคือ โฆษณามีจำนวนมากเกินไปและบางสิ่งไม่มีความน่าเชื่อถือ (ซึ่งเหตุผลนี้หลายคนคงรู้สึกเช่นเดียวกัน) ต่อมาคือการที่มีโฆษณาจำนวนมากเช่นเดียวกับอันดับแรก และสุดท้ายคือโฆษณากระตุ้นความรู้สึกมากเกินไป เป็นต้น

จากภาพแสดงถึงการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงระหว่างแต่ละไตรมาสที่มีการใช้จ่ายเกี่ยวกับโฆษณา ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีทั้งอัตราที่เพิ่มขึ้นและลดลง ซึ่งอาจเป็นเพราะเหตุผลจากด้านบนและการเข้าถึงที่น้อยลงจึงทำให้มีการใช้จ่ายที่น้อยลง

จากภาพแสดงถึงการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงระหว่างแต่ละไตรมาสเกี่ยวกับความประทับใจของผู้บริโภคในการชมโฆษณา ซึ่งจะเห็นว่าในบางไตรมาสมีความประทับใจในโฆษณาสูงมากแต่ก็ยังคงมีลดลงบ้างซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เสมอ

จากภาพแสดงถึงการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงระหว่างแต่ละไตรมาสเกี่ยวกับราคาต่อการคลิกหนึ่งครั้ง ซึ่งจะเห็นได้ว่าราคาสูงสุดสำหรับการคลิกหนึ่งครั้งคือ ไตรมาสแรกอยู่ที่ 0.60 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งแปลงเป็นเงินบาทคือ 18.83 บาท และราคาที่ต่ำที่สุดคือไตรมาสที่สองอยู่ที่ 0.46 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งแปลงเป็นเงินบาทคือ 14.43 บาท

จากภาพแสดงถึงการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงระหว่างแต่ละไตรมาสเกี่ยวกับจำนวนการคลิกทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายเงิน ซึ่งสูงสุดอยู่ที่ 179 ในไตรมาสที่ 4

จากภาพแสดงถึงการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงระหว่างแต่ละไตรมาสเกี่ยวกับค่าเฉลี่ยสำหรับการคลิกและค้นหาโฆษณาออนไลน์ โดยสูงที่สุดคือไตรมาสแรก คือ 2.0%

จากภาพแสดงถึงการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงระหว่างแต่ละไตรมาสเกี่ยวกับการใช้จ่ายในการโฆษณาผ่านโซเชียลมีเดียต่างๆ โดยสูงที่สุดคือไตรมาสที่ 4 คือ 163 แม้จะดูเหมือนเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดแต่ว่าก็มีการลดลงอย่างเห็นได้ชัดเช่นกัน

จากภาพแสดงถึงการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงระหว่างแต่ละไตรมาสเกี่ยวกับการแสดงผลโฆษณาผ่านโซเชียลมีเดียต่างๆที่ถูกใช้จ่ายทั้งหมด โดยสูงที่สุดคือไตรมาสที่ 4 คือ 117

จากภาพแสดงถึงการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงระหว่างแต่ละไตรมาสเกี่ยวกับต้นทุนเฉลี่ยที่ใช้ในการโฆษณาซึ่งในต้นทุนครั้งหนึ่งแลกกับการแจ้งเตือน 1000 ครั้ง โดยสูงที่สุดคือไตรมาสที่ 4 คือ 7.32 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งแปลงเป็นเงินบาทคือ 229.69 บาท ต่อการแจ้งเตือน 1000 ครั้ง

จากภาพแสดงถึงการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงระหว่างแต่ละไตรมาสเกี่ยวกับต้นทุนเฉลี่ยที่ใช้ในการโฆษณาซึ่งในต้นทุนครั้งหนึ่งแลกกับการแจ้งเตือน 1000 ครั้ง โดยสูงที่สุดคือไตรมาสที่ 4 คือ 7.32 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งแปลงเป็นเงินบาทคือ 229.69 บาท ต่อการแจ้งเตือน 1000 ครั้ง

จากภาพแสดงถึงการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงระหว่างแต่ละไตรมาสเกี่ยวกับค่าเฉลี่ยสำหรับการคลิกและโฆษณาออนไลน์บนโซเชียลมีเดีย โดยสูงที่สุดคือไตรมาสแรก คือ 1.1%

ข้อมูลเพิ่มเติม

ขอขอบคุณ GWI

ขอขอบคุณ STATISTA

ขอขอบคุณ SEMRUSH

ขอขอบคุณ APP ANNIE

ขอขอบคุณ SIMILARWEB

ขอขอบคุณ LOCOWISE

ขอขอบคุณ KENSHOO

หมายเหตุที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงและอาจไม่ตรงกัน

การปฏิเสธความรับผิดชอบและหมายเหตุที่สำคัญ

ช่องทางการติดต่อของผู้ทำการศึกษาค้นคว้าและทำรายงาน

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่
กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!

Linda Barbara

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Vestibulum imperdiet massa at dignissim gravida. Vivamus vestibulum odio eget eros accumsan, ut dignissim sapien gravida. Vivamus eu sem vitae dui.

Recent posts

Recent comments