fbpx
หน้าแรกบทความ10 ทักษะอาชีพที่เป็นที่ต้องการมากที่สุดในเอเชียแปซิฟิก

10 ทักษะอาชีพที่เป็นที่ต้องการมากที่สุดในเอเชียแปซิฟิก

Author

Date

Category

แชร์บทความน่าสนใจได้ที่นี่

 

ปัจจุบันทักษะที่มีประโยชน์ในการทำงานมากที่สุดที่มุ่งเน้น และต้องการเฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยจะเน้นถึงทักษะอาชีพ 10 อันดับที่จะมีการเติบโตแบบก้าวหน้ามากขึ้น

 

 

ทักษะอาชีพ 10 อันดับ ที่ต้องการมากที่สุดในเอเชียแปซิฟิก และตำแหน่งงานที่จะเติบโตได้ดีที่สุด มีดังนี้

  1. ทักษะอาชีพด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)

ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ที่ใช้เครื่องจักรในการทำงานเหมือนมนุษย์ เมื่อบริษัทต่างๆ พึ่งพาข้อมูลมากขึ้น AI ก็จะมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในกระบวนการตัดสินใจ ตัวอย่างเช่น Airbnb ใช้การจดจำภาพ และการเรียนรู้ของ machine learning เพื่อทำความเข้าใจว่าภาพถ่ายใดบ้าง ที่น่าดึงดูดสายตาที่สุด สำหรับแขกที่จะมาใช้บริการที่พัก

อาชีพที่ต้องใช้ทักษะนี้

  • นักวิเคราะห์ธุรกิจ (Business Analyst)
  • นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist)
  • วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineer)
  1. ทักษะอาชีพด้าน blockchain

Blockchain คือ บัญชีแยกประเภทสาธารณะที่จัดเก็บรายการบันทึกที่เพิ่มขึ้น หรือที่เรียกว่า “บล็อก” ในส่วนของBlockchain เพิ่งได้รับความนิยมมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่ต้องใช้การเข้ารหัส แต่ในตอนนี้เทคโนโลยีถูกใช้ในงานต่างๆ เช่น กฎหมายความปลอดภัย และการศึกษา

อาชีพที่ต้องใช้ทักษะนี้

  • ผู้พัฒนา Blockchain (Blockchain Developer)
  • หัวหน้าเจ้าหน้าที่เทคโนโลยี (Chief Technology Officer)
  • ผู้ให้คำปรึกษา (Consultant)
  1. ทักษะอาชีพด้านการปฏิบัติตาม (Compliance)

ในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ธุรกิจจำเป็นต้องตรวจสอบ เพื่อให้แน่ใจว่าจะปฏิบัติตามกฎระเบียบ และกฎหมายต่างๆ ของแต่ละประเทศที่กำลังดำเนินธุรกิจหรือไม่ สิ่งนี้กลับกลายเป็นความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ

อาชีพที่ต้องใช้ทักษะนี้

  • หัวหน้าเจ้าหน้าที่ข้อมูล (Chief Data Officer)
  • เจ้าหน้าที่กำกับการปฏิบัติงาน (Compliance Officer)
  • เจ้าหน้าที่บริหารความเสี่ยง (Risk Management Officer)
  1. ทักษะอาชีพด้านบูรณาการอย่างต่อเนื่อง (Continuous Integration)

ในวิศวกรรมซอฟต์แวร์การรวมอย่างต่อเนื่อง หมายถึง การรวมการทำงานของนักพัฒนาทั้งหมดเข้ากับแพลตฟอร์มที่ใช้ร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ จุดประสงค์ของบทบาท คือ การช่วยตรวจจับปัญหาก่อนกำหนดในกระบวนการพัฒนานั้น

อาชีพที่ต้องใช้ทักษะนี้

  • วิศวกร DevOps (DevOps Engineer)
  • วิศวกร Full Stack (Full stack Engineer)
  • วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineer)
  1. ทักษะอาชีพด้านการพัฒนาเว็บส่วนหน้า (Frontend Web Development)

การพัฒนาเว็บส่วนหน้า เป็นกระบวนการของการแปลงข้อมูล ซึ่งจะเป็นส่วนต่อประสานกราฟิก หรือหน้าเว็บที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจะได้เห็น ซึ่งในโลกดิจิตอลที่มีมากขึ้นทุกวันนี้กระบวนการดังกล่าวเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับธุรกิจในอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามโอกาสในภาคการค้าปลีกในเอเชียแปซิฟิก คาดว่ายอดขายอีคอมเมิร์ซจะสูงถึง 3.5 ล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2564 ด้วย

อาชีพที่ต้องใช้ทักษะนี้

  • ผู้พัฒนาส่วนหน้า (Frontend Developer)
  • วิศวกร Full Stack (Full Stack Engineer)
  • นักพัฒนาเว็บ (Web Developer)
  1. ทักษะอาชีพด้านเทคโนโลยีการจดจำท่าทาง (Gesture Recognition |Technology)

เทคโนโลยีการจดจำท่าทางมีวัตถุประสงค์เพื่อปิดช่องว่างระหว่างมนุษย์ และอุปกรณ์โดยการสอนคอมพิวเตอร์ ให้อ่านการเคลื่อนไหวของมนุษย์ สำหรับตลาดการรู้ และการจดจำท่าทางทั่วโลกคาดว่าจะมีมูลค่า 30.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2568 และตลาดธนาคารการศึกษาระดับสูง และภาคการโฆษณากำลังกระโดดขึ้นในต่างประเทศเพิ่มขึ้น

อาชีพที่ต้องใช้ทักษะนี้

  • วิศวกรมือถือ (Mobile Engineer)
  • นักวิจัย (Researcher)
  • วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineer)
  1. ทักษะอาชีพด้านการออกแบบที่เน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลาง (Human-Centered Design)

การออกแบบที่เน้นผู้คนเป็นศูนย์กลาง มีจุดมุ่งหมายเพื่อมอบประสบการณ์ให้ผู้ใช้ในการตัดสินใจการออกแบบทั้งหมด ซึ่งจะเป็นวิธีการที่บริษัท Apple ก่อตั้งโดย Steve Jobs เป็นที่รู้จัก และจะมีความต้องการเพิ่มมากขึ้นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

อาชีพที่ต้องใช้ทักษะนี้

  • นักออกแบบกราฟิก (Graphics Designer)
  • นักออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Designer)
  • นักออกแบบจากประสบการณ์ผู้ใช้ (User Experience Designer)
  1. ทักษะอาชีพด้านหุ่นยนต์กระบวนการอัตโนมัติ (Robotic Process Automation)

หุ่นยนต์กระบวนการอัตโนมัติ เป็นรูปแบบใหม่ของกระบวนการอัตโนมัติทางธุรกิจ การใช้หุ่นยนต์ หรือปัญญาประดิษฐ์ โดยกระบวนการนี้มีเป้าหมาย คือ เพื่อทำให้งานที่ซ้ำซ้อนมาก ทำงานโดยอัตโนมัติ ตัวอย่าง การใช้งานอยู่ในธนาคาร และโทรคมนาคม ซึ่งการทำธุรกรรมตามขั้นตอนความต้องการของลูกค้า จะสามารถดำเนินแบบอัตโนมัติ

อาชีพที่ต้องใช้ทักษะนี้

  • นักวิเคราะห์ธุรกิจ (Business Analyst)
  • ผู้ให้คำปรึกษา (Consultant)
  • วิศวกรหุ่นยนต์ (Robotics Engineer)
  1. ทักษะอาชีพด้านการตลาดโซเชียลมีเดีย (Social Media Marketing)

การตลาดโซเชียลมีเดีย เป็นการใช้โซเชียลมีเดีย เพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ และบริการด้วยการนำโซเชียลมีเดียมาใช้ และยังคงเติบโตอย่างรวดเร็วในเอเชียแปซิฟิกธุรกิจต่างๆ จึงนำทักษะอาชีพด้านนี้มาใช้งาน เพื่อเข้าถึงลูกค้าใหม่ และลูกค้าเดิม โดยจำนวน 74% ของผู้ใช้กล่าวว่า พวกเขาเชื่อว่าการตลาดโซเชียลมีเดียมีส่วนช่วยในการสร้างผลกำไรอีกด้วย

อาชีพที่ต้องใช้ทักษะนี้

  • ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดดิจิตอล (Digital Marketing Specialist)
  • ผู้จัดการฝ่ายการตลาด (Marketing Manager)
  • ผู้จัดการฝ่ายการตลาดโซเชียลมีเดีย (Social Media Marketing Manager)
  1. ทักษะอาชีพด้านระบบอัตโนมัติเวิร์กโฟลว์ (Workflow Automation)

Workflow Automation เป็นกระบวนการทำงานแบบอัตโนมัติด้วยตนเอง ตามกฎเกณฑ์ทางธุรกิจที่กำหนดไว้ล่วงหน้า โดยการทำงานในรูปแบบเดิม จะสามารถทำงานด้วยระบบอัตโนมัติ

อาชีพที่ต้องใช้ทักษะนี้

  • ผู้ให้คำปรึกษา (Consultant)
  • ผู้จัดการโครงการ (Project Manager)
  • วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineer)

 

เกาะติดข่าวสารการตลาดออนไลน์ เทคนิคการโปรโมทโฆษณา

แค่กดเป็นเพื่อนกับ ไลน์ @inDigital ที่นี่

เพิ่มเพื่อน

 

 

Fanpage : INdigital การตลาดออนไลน์

เว็บไซต์ : www.indigital.co.th

ที่มา : cnbc

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่
กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!

Linda Barbara

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Vestibulum imperdiet massa at dignissim gravida. Vivamus vestibulum odio eget eros accumsan, ut dignissim sapien gravida. Vivamus eu sem vitae dui.

Recent posts

Recent comments